Page 149 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 149

3-67





                             5)  นํ้ามันทานตะวันจากพันธุ์ที่ได้รับในโครงการส่งเสริมมีคุณภาพดีไม่ด้อยไปกว่า

                  นํ้ามันที่ได้จากมะกอกหรือโอลิฟ แต่ต้นทุนการผลิตนํ้ามันทานตะวันตํ่ากว่าและสามารถผลิตนํ้ามัน

                  ทานตะวันได้ในประเทศไทย จึงเป็นโอกาสในการทําตลาดนํ้ามันทานตะวันของประเทศไทย
                  โดยเฉพาะตลาดในทวีปเอเชีย

                             6)  มีการร่วมมือกันระหว่างบริษัทขายเมล็ดพันธุ์และบริษัทของประเทศญี่ปุ่ น

                  ผลิตนํ้ามันทานตะวันครบวงจร โดยสร้างโรงงานสกัดนํ้ามันทานตะวันกําลังการผลิต 10,000 ตันต่อปี

                  (ส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก) ดําเนินการผลิตมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ในการนี้ได้ส่งเสริม
                  การปลูกทานตะวัน 100,000 ไร่ สําหรับป้ อนโรงงานโดยรับซื้อผลผลิตอย่างต่อเนื่อง นับเป็นโอกาส

                  ในการผลิตและการตลาดทานตะวันในประเทศไทย

                             7)  มีการประกันราคาซื้อเมล็ดทานตะวันตามเงื่อนไขภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูก

                  ทานตะวันครบวงจรมาตั้งแต่ ปีเพาะปลูก 2550/51-2553/54 โดยราคาประกันขยับตัวจากกิโลกรัมละ 13 บาท
                  เป็น 15.50 บาท เป็นที่พึงพอใจของเกษตรกร (สุรัตน์, 2555)

                             8)  ความต้องการผลิตภัณฑ์นํ้ามันพืชเกรดพิเศษ (พรีเมี่ยม) สูงขึ้น ได้แก่ นํ้ามันมะกอก

                  นํ้ามันคาโนลา นํ้ามันทานตะวัน และนํ้ามันข้าวโพด เป็นต้น นํ้ามันพืชกลุ่มนี้มีทั้งที่นําเข้า
                  จากต่างประเทศและผลิตภายในประเทศ ช่องทางการจําหน่ายยังจํากัดอยู่ในตลาดโมเดิร์นเทรด

                  แต่ความต้องการบริโภคมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น นํ้ามันมะกอกและนํ้ามันคาโนลาไม่สามารถผลิต

                  ในประเทศได้ เพราะมีข้อจํากัดด้านวัตถุดิบที่ไม่มีเพาะปลูกในประเทศไทย ส่วนนํ้ามันทานตะวัน
                  และนํ้ามันข้าวโพดการผลิตใช้วัตถุดิบที่ปลูกได้ในประเทศ ทําให้ขายได้ในราคาตํ่ากว่านํ้ามันพืช

                  นําเข้า จึงเป็นโอกาสให้ตลาดของผลิตภัณฑ์นํ้ามันพืชพรีเมี่ยมที่ผลิตในประเทศขยายตัว และสามารถ

                  แข่งขันกับนํ้ามันพืชนําเข้าได้และยังเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถขยายการส่งออกได้
                  ในอนาคตและในระยะยาวยังอาจช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการส่งออกนํ้ามันพืชจากที่เป็นผู้รับจ้าง

                  การผลิตมาส่งออกภายใต้รูปแบบและตราสินค้าของตนเอง (บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จํากัด, 2553)

                             9)  กระแสรักสุขภาพทําให้ผู้บริโภคให้ความสําคัญกับการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์

                  เพื่อสุขภาพ ซึ่งในนํ้ามันทานตะวันประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด
                  และมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูงไม่ทําให้เกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด จึงเป็นที่ต้องการนําไป

                  ประกอบอาหารของผู้บริโภคที่ให้ความสําคัญกับสุขภาพ แนวโน้มการหันมาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นํ้ามันพืช

                  เพื่อสุขภาพซึ่งผู้ผลิตและผู้ประกอบการในประเทศมีศักยภาพในการขยายตลาดทั้งในประเทศ
                  และต่างประเทศ












                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154