Page 144 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 144

3-62






                  3.4  ศักยภาพ โอกาส และข้อจํากัดในการผลิตและการตลาด

                        ทานตะวันเป็นพืชนํ้ามันที่มีความสําคัญชนิดหนึ่งรองจากปาล์มนํ้ามันและถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์
                  จากทานตะวันนอกจากจะใช้เมล็ดบริโภคโดยตรงเพื่อสุขภาพแล้วยังใช้นํ้ามันเป็นวัตถุดิบ

                  ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายประเภท จึงเป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศและตลาดโลก

                  สําหรับในประเทศไทยการผลิตเมล็ดทานตะวันยังไม่เพียงพอกับความต้องการในส่วนนี้ได้ทํา
                  การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจํากัด ด้านการผลิตและการตลาดของทานตะวันสําหรับ

                  การพิจารณากําหนดเขตและวางแผนการใช้ที่ดินผลิตทานตะวัน โดยสามารถใช้จุดแข็งและโอกาส

                  เป็นแนวทางในการผลิตหรือขยายการผลิต การตลาด และใช้จุดอ่อนและข้อจํากัดเป็นแนวทางแก้ไข
                  ปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ดังนี้


                        3.4.1  จุดแข็ง

                          1)  ทานตะวันเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกฤดูกาลและเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย เนื่องจาก
                  เป็นพืชที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้และไม่ไวต่อแสง สามารถออกดอกให้ผลได้ทุกสภาพ

                  ช่วงแสง มีระบบรากลึกและแผ่กว้างสามารถดูดซับความชื้นและธาตุอาหารได้ดี เมื่อต้นทานตะวัน

                  ตั้งตัวได้จะมีความทนทานต่อสภาพแห้งและร้อนได้และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อได้รับนํ้าฝน นอกจากนี้

                  ต้นทานตะวันยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวฟ่าง เกษตรกร
                  นิยมปลูกเป็นพืชครั้งที่ 2 ต่อจากพืชหลักในพื้นที่ไร่ เนื่องจากเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุสั้น

                             2)  ทานตะวันสามารถปลูกและเติบโตได้ในดินแทบทุกประเภท โดยจะเติบโตได้ดี

                  ในดินที่มีผิวหน้าหนาและอุ้มความชื้นไว้ได้ดี สามารถทนต่อสภาพดินเค็ม ดินที่มีสภาพเป็นด่าง
                  และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตํ่าได้ จึงสามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย

                             3)  ทานตะวันเป็นพืชที่ต้องการนํ้าน้อยอาศัยเพียงความชุ่มชื้นในดินในระยะช่วงปลูก

                  ปลายฤดูฝนประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม ปริมาณนํ้าฝนเพียง 300-400 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่
                  ไม่จําเป็นต้องมีแหล่งนํ้า จึงเหมาะสมสําหรับปลูกเป็นพืชครั้งที่ 2 ประกอบกับเป็นพืชที่ไม่ต้องการ

                  การดูแลรักษามาก โรคและแมลงศัตรูพืชรบกวนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับพืชครั้งที่ 2 ชนิดอื่น เช่น

                  ถั่วเหลืองและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
                             4)  มีพันธุ์หลายสายพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศเขตร้อนของประเทศไทย

                  ได้แก่ สายพันธุ์พื้นเมือง สายพันธุ์สังเคราะห์ที่ได้จากการวิจัยพัฒนาของกรมวิชาการเกษตร (ได้แก่

                  พันธุ์เชียงใหม่ 1 พันธุ์แม่สาย เป็นต้น) และสายพันธุ์ลูกผสมที่นําเข้าจากต่างประเทศ (ได้แก่ พันธุ์แปซิฟิค 33

                  แปซิฟิค 55 แปซิฟิค 77 อาตูเอล จัมโบ้ โอลิซัน 2 และโอลิซัน 3 เป็นต้น) ส่วนที่สําคัญของการใช้พันธุ์
                  เป็นที่ยอมรับกันว่าทานตะวันเป็นพืชที่ปราศจากการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs)








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149