Page 142 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 142

3-60





                             ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน

                          1)  พัฒนาแหล่งนํ้า เพิ่มปริมาณเก็บกักนํ้า และขยายพื้นที่ชลประทานให้ครอบคลุมพื้นที่

                  ที่มีศักยภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของกลไกบริหารจัดการนํ้าให้สูงขึ้นเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของ
                  เกษตรกรและชุมชนในกระบวนการพัฒนาแหล่งนํ้าและบริหารจัดการนํ้าทุกระดับอย่างบูรณาการ
                  สนับสนุนให้มีการพัฒนาแหล่งนํ้าขนาดเล็กในไร่นาสามารถเก็บนํ้าเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค

                  ได้อย่างพอเพียง เพื่อสร้างความมั่นคงและปัจจัยพื้นฐานในการผลิตของเกษตรกรและชุมชน ตลอดจน

                  ผลักดันให้เกิดการดําเนินงานแบบบูรณาการเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหาร
                  จัดการนํ้าอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณนํ้าในพื้นที่
                  เกษตรกรรมและพื้นที่แหล่งกักเก็บนํ้ารวมถึงวางระบบการป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยธรรมชาติ

                             2)  บริหารการจัดที่ดินทํากินให้เกษตรกร เร่งรัดการฟื้นฟู อนุรักษ์ และปรับปรุงคุณภาพดิน

                  เพื่อการเกษตร รวมถึงการพัฒนาระบบคุ้มครองที่ดินเพื่อการเกษตรให้เกษตรกรรายย่อยมีที่ดิน
                  เป็นของตนเอง

                        3.3.4  ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรที่ดิน

                             การทําการเกษตรต้องใช้ทรัพยากรที่ดินเป็นปัจจัยหลัก โดยได้มีการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม
                  ที่ไม่เหมาะสม ทําให้เกิดการเสื่อมโทรมของดินส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเกษตรกร

                  ชุมชน และประเทศ กรมพัฒนาที่ดินซึ่งมีภารกิจหลักเกี่ยวกับการกําหนดนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
                  ในพื้นที่เกษตรกรรม การสํารวจและจําแนกดิน การอนุรักษ์ดินและนํ้า การปรับปรุงบํารุงดินโดยการให้บริการ

                  และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน ข้อมูลดินและการใช้ที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
                  และให้มีการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน จึงได้มีการเตรียมรับมือและแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง

                  สภาพแวดล้อมต่างๆ ของประเทศโดยเฉพาะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดมา โดย

                  กรมพัฒนาที่ดินได้วิเคราะห์และจัดทํายุทธศาสตร์เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาทรัพยากรที่ดินในช่วง 5 ปี
                  (พ.ศ. 2555-2559 ) ตามกรอบการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
                  และมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมียุทธศาสตร์

                  ที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดเขตการใช้ที่ดิน คือ การขับเคลื่อนแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยมีเป้าหมาย

                  และกลยุทธ์ดังนี้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2555)
                             เป้ าหมาย

                          1)  จัดทําแผนการใช้ที่ดินเพื่อการวางแผนพัฒนาในพื้นที่ 119 ลุ่มนํ้าสาขา 2,711 ตําบล
                  และ 25 ชนิดพืช

                             2)  ส่งเสริมเกษตรกรผลิตตามความเหมาะสมของดินไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
                             3)  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนการใช้ที่ดิน

                             4)  พัฒนาข้อมูลในเชิงพื้นที่
                             5)  พัฒนากระบวนการผลักดันแผนการใช้ที่ดินไปสู่การปฏิบัติ






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147