Page 138 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 138

3-56





                            (1)  ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานจาก

                  พืชพลังงาน โดยการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศและให้ผลผลิตสูง และ

                  การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น รวมทั้งศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ
                  ในกระบวนการผลิตพลังงานจากพืช เพื่อให้สามารถผลิตพลังงานได้มากขึ้นในปริมาณพืชเท่ากัน

                  ตลอดจนส่งเสริมการวิจัยพืชพลังงานอื่นที่ไม่ได้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหาร เช่น สาหร่าย เป็นต้น
                  ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาภาวะขาดแคลนในพืชที่ใช้เป็นทั้งวัตถุดิบในการผลิตอาหารและพลังงาน

                            (2)  จัดให้มีระบบการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่ใช้เป็ นทั้งอาหารและพลังงาน
                  โดยให้ความสําคัญกับความมั่นคงด้านอาหาร เช่น ปาล์มนํ้ามัน มันสําปะหลัง และอ้อย เป็นต้น เพื่อให้

                  มีการผลิตและการใช้อย่างเป็นระบบที่เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ไม่กระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร

                  ของประเทศ
                            (3)  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงานชีวภาพที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการผลิต

                  และบริการ เพื่อลดการพึ่งพาการใช้นํ้ามันเชื้อเพลิงจากการนําเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะทําให้เกิดการสร้าง

                  ภูมิคุ้มกันให้กับผลผลิตทางการเกษตรเกิดความมั่นคงและราคาสินค้าเกษตรมีเสถียรภาพ

                            (4)  จัดให้มีกลไกในการกํากับดูแลโครงสร้างราคาของพลังงานชีวภาพ ที่ไม่ส่งผลกระทบ
                  ต่อการสร้างเสถียรภาพและความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่นคง

                  ของการใช้พลังงานชีวภาพและศักยภาพการผลิตที่เหมาะสม โดยไม่กระทบต่อการผลิตอาหารของประเทศ

                            (5)  ปลูกจิตสํานึกในการใช้พลังงานชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า โดยสร้าง

                  ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนถึงประโยชน์และผลกระทบของการใช้พลังงานชีวภาพ
                             7)  การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและ

                  พลังงาน ดําเนินงานโดย

                            (1)  สนับสนุนบทบาทของเกษตรกร เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ภาคเอกชน และ

                  ชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกําหนดทิศทางและวางแผนการผลิตทางการเกษตร เพื่อสร้างความมั่นคง
                  ด้านอาหารและพลังงานทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ เชื่อมโยงกับกลไกการบริหารจัดการ

                  ภาครัฐและองค์กรเกษตรกรที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลาง เช่น สภาเกษตรกรแห่งชาติ

                  เป็นต้น รวมทั้งมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบการทํางานของภาครัฐอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้าง

                  ความรับผิดชอบต่อสังคม
                            (2)  ปรับกระบวนการทํางานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงเกษตร

                  และสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

                  และสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพลังงาน ให้มีการร่วมมือและบูรณาการการทํางานอย่างจริงจัง ทั้งใน
                  ส่วนกลางและระดับพื้นที่โดยมีเป้ าหมายร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143