Page 134 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 134

3-52





                  อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง โดยผ่านศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เครือข่ายเกษตรกรที่มี

                  ความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละพื้นที่และจากเกษตรกรที่ประสบความสําเร็จหรือปราชญ์ชาวบ้าน

                  ตลอดจนเพิ่มความสามารถและช่องทางในการรับรู้ข่าวสารให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง รวมถึงพัฒนา
                  สื่อทางการเกษตรในวงกว้าง เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรสู่เกษตรกร

                  และประชาชนที่มีความสนใจให้ทั่วถึงมากขึ้น

                             3)  การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต ดําเนินงานโดย

                            (1)  สนับสนุนการผลิตและบริการของชุมชนในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

                  อาหารและพลังงาน โดยพัฒนาศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ
                  และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนบนฐานความรู้ที่สร้างสรรค์ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า เช่น สมุนไพร

                  ผลิตภัณฑ์อาหารและบริการเพื่อสุขภาพ สินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ฮาลาล เป็นต้น รวมถึงสินค้าเกษตร

                  ที่มิใช่อาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ยาง สินค้าจําพวกวัสดุชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ยาและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ
                  เป็นต้น ตลอดจนการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาต่อยอดให้มีโอกาสทางการตลาดและเสริมสร้าง

                  ความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสนับสนุนการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรชนิดใหม่ๆ ที่มี

                  มูลค่าสูงเพื่อรองรับความต้องการของตลาดเฉพาะกลุ่มและตลาดโลก

                            (2)  ส่งเสริมสถาบันการศึกษาในพื้นที่เข้ามาร่วมทําการศึกษาวิจัยกับภาคเอกชน
                  ควบคู่กับการใช้มาตรการด้านสินเชื่อผ่อนปรนและมาตรการด้านภาษีเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร

                  และผู้ประกอบการนําองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                  บนฐานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร

                            (3)  สนับสนุนการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และมาตรฐาน
                  ระบบการผลิตสินค้าเกษตรให้เทียบเท่าระดับสากล ควบคุมและดูแลกระบวนการตรวจรับรองคุณภาพ

                  อย่างเข้มงวด พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับและความสามารถในการติดตามการขนส่งหรือ

                  เคลื่อนย้ายสินค้ารวมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งภายใน
                  และต่างประเทศ รวมถึงเป็นการสร้างโอกาสและการใช้ประโยชน์จากการเปิดการค้าเสรี ตลอดจน

                  มีความรวดเร็ว ทั่วถึง และประหยัดสําหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการ

                            (4)  สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรและผู้ประกอบการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร
                  ตามมาตรฐานที่กําหนด เช่น มาตรฐานอาหารปลอดภัย มาตรฐานฮาลาล เป็นต้น รวมทั้งการผลิต

                  สินค้าเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน

                  ลดภาระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบรับรอง เพื่อขยายการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพ

                  มาตรฐานและความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139