Page 132 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 132

3-50





                            (2)  พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                  โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่ชุมชน ท้องถิ่น ส่งเสริมการทําวิจัยร่วมกับต่างประเทศ

                  รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างประหยัดและช่วยลดมลพิษ

                  จัดหาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดและองค์กร
                  ปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาเครือข่ายนักวิจัยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยและภาคีอื่นๆ

                  สนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งการฟื้นฟูดินและ

                  การป้ องกันการชะล้างทําลายดิน ดําเนินการศึกษา สํารวจและกําหนดยุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรธรณี
                  อย่างยั่งยืน


                        3.3.2  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

                             การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับ
                  กระแสการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญทั้งภายนอกและภายในประเทศที่ปรับเปลี่ยนเร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

                  เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะข้อผูกพันที่จะเป็นประชาคมอาเซียน

                  ในปี 2558 จึงจําเป็นต้องนําภูมิคุ้มกันที่มีอยู่พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้นมาใช้
                  ในการเตรียมความพร้อมให้แก่คน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบ

                  จากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม สามารถพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไปเพื่อประโยชน์สุข

                  ที่ยั่งยืนของสังคมไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง คือ
                  ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา ดังนี้

                  (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555)

                             1)  การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน

                            ดําเนินงานโดยการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคการเกษตร

                  ทั้งในเรื่องการฟื้นฟูคุณภาพของทรัพยากรดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ การบริหารจัดการนํ้าอย่างบูรณาการ
                  และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้นํ้าภาคเกษตร เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

                  ในภาคเกษตร

                             2)  การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร ดําเนินงานโดย
                            (1)  รัฐควรให้ความสําคัญกับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพันธุ์พืช

                  ที่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

                  และส่งเสริมบทบาทของสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน องค์กรชุมชน และเกษตรกร ในการพัฒนาพันธุ์พืช

                  การใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร
                  โดยเฉพาะการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและระบบตลาดสินค้าเกษตรที่เป็นธรรม เพื่อยกระดับ








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137