Page 135 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 135

3-53





                            (5)  ส่งเสริมระบบตลาดกลางสินค้าเกษตรและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า

                  ให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ โดยการสนับสนุนสิ่งจูงใจ เช่น สินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนให้กับ

                  ผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการตลาดกลางสินค้าเกษตร เพื่อให้เกิดกลไกตลาดที่มี

                  ความเป็นธรรม และสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรสามารถเข้ามาทําธุรกรรมในตลาดสินค้าเกษตร
                  ล่วงหน้า เป็นต้น

                            (6)  ส่งเสริมภาคเอกชนและองค์กรชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมกันบริหารจัดการ

                  ระบบสินค้าเกษตรและอาหาร การเพิ่มมูลค่า และการจัดการด้านการตลาด ร่วมกับสถาบันเกษตรกร

                  เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางในการสร้างรายได้ที่เป็นธรรมและเหมาะสมเพิ่มขึ้น รวมถึงสนับสนุน
                  การบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบกลุ่มการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับและต่อยอด

                  การแปรรูปสินค้าเกษตร

                            (7)  สนับสนุนการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์
                  ของภาคเกษตรที่เชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่อุปทานและสามารถตรวจสอบการเคลื่อนย้ายของสินค้า เพื่อลด

                  ความสูญเสียและลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่อุปทานจากการเน่าเสียของสินค้าที่มีสาเหตุจากกระบวนการ

                  เก็บรักษาและระบบขนส่งสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยพัฒนาระบบขนส่งที่มีการควบคุมอุณหภูมิ
                  ระบบตรวจสอบย้อนกลับและสนับสนุนให้ผู้ผลิตหรือสมาคมธุรกิจเฉพาะด้านเข้ามามีบทบาทในการจัดระบบ

                  การบริหารโลจิสติกส์ของภาคเกษตรร่วมกับภาครัฐ รวมทั้งพัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการผลิต
                  และตลาดสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์

                             4)  การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร ดําเนินงานโดย
                            (1)  พัฒนาระบบการสร้างหลักประกันด้านรายได้ของเกษตรกรให้มีความมั่นคง

                  และให้ครอบคลุมเกษตรกรทั้งหมด เพื่อนําไปสู่การปรับโครงสร้างการผลิตอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับ

                  การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อสร้างความมั่นใจกับเกษตรกรในรายได้ขั้นตํ่าที่สามารถยึดการเกษตร
                  เป็นอาชีพได้อย่างมั่นคงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

                  ในระยะยาว
                            (2)  เร่งพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลการเกษตร ให้สามารถคุ้มครองความเสี่ยงด้านการผลิต

                  ทางการเกษตรจากทุกภัยพิบัติให้กับเกษตรกรในทุกพื้นที่ โดยให้เกษตรกรมีส่วนรับผิดชอบชําระเบี้ยประกัน
                  ตามความเสี่ยงของพื้นที่

                            (3)  ส่งเสริมระบบการทําการเกษตรแบบมีพันธสัญญาที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ ายที่เกี่ยวข้อง

                  เพื่อเป็นหลักประกันทั้งทางด้านรายได้ให้กับเกษตรกรและความมั่นคงด้านวัตถุดิบแก่ภาคอุตสาหกรรม
                  การเกษตร อาหาร และพลังงาน โดยให้ความสําคัญกับสถาบันและองค์กรเกษตรกร ในการเป็นคู่สัญญา

                  กับบริษัท และพัฒนาระบบการถ่ายทอดความรู้และข้อมูลสําหรับการสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกร
                  และผู้เกี่ยวข้อง และกําหนดกลไกและมาตรการที่เหมาะสม โดยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140