Page 129 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 129

3-47





                             2)  นโยบายเศรษฐกิจ

                            (1)  นโยบายสร้างรายได้

                                    -  ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงาน
                  ในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง

                  เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง
                  ตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทําให้เป้ าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลก

                  สัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น
                                    -  เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูง

                  ให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นระบบ ในทุกระดับชั้นความรู้ และส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความชํานาญ
                  และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้และเงินร่วมลงทุนระยะยาว รวมทั้ง

                  จัดตั้งกองทุนต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิต การแปรรูป และการค้าอย่างทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
                  เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถขายได้ในราคาที่ดี

                            (2)  นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

                                    ภาคเกษตร
                                    -  ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสาร

                  กับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
                                    -  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยี

                  การผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง
                  ของภูมิอากาศโลก และถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่เกษตรกรเพื่อให้มีการใช้พันธุ์ดี ใช้เทคโนโลยี

                  ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุน

                  การผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต
                                    -  เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพ

                  การเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน โดยมีการวางแผนการผลิต
                  และการจําหน่ายล่วงหน้าที่แม่นยํา และประสานโครงสร้างพื้นฐานของทางราชการและเอกชน

                  ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างกระบวนการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน
                                    -  เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ

                  สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ร่วมมือสนับสนุนสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
                  ทางวิชาการเกษตรทุกสาขา และดําเนินการให้บุคลากรของสถาบันการศึกษาได้ทําหน้าที่สนับสนุน

                  การส่งเสริมการเกษตร พัฒนารูปแบบการจัดการผลิต การบรรจุผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ
                  การตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิต เร่งรัดการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมและพืชพลังงานเพื่อรองรับ

                  วิกฤตพลังงานโลก ส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงโดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตร

                  ต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134