Page 126 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 126

3-44





                  และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.09-1.52 จะเห็นว่าต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่

                  เป็นต้นทุนคงที่ที่สําคัญได้แก่ ค่าเช่าที่ดิน มีสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 43.05 สําหรับการผลิตในภาพรวม

                  ส่วนการผลิตตามความเหมาะสมของพื้นที่ 3 ระดับ มีสัดส่วนร้อยละ 39.08-51.17 เนื่องจาก
                  มีเกษตรกรบางส่วนเช่าพื้นที่ปลูกหรือเช่าพื้นที่ปลูกทานตะวันเพียงครั้งเดียว (เช่าหลังจากพืชครั้งที่ 1)

                  ต้นทุนผันแปรส่วนใหญ่เป็นค่าพันธุ์ซึ่งเกษตรกรไม่สามารถเก็บเมล็ดเพื่อทําพันธุ์ไว้ใช้เองได้ ต้องซื้อ

                  เมล็ดพันธุ์ที่นําเข้าจากต่างประเทศจึงมีสัดส่วนค่าเมล็ดพันธุ์สูงในต้นทุนผันแปร รองลงมาเป็น

                  ค่าแรงงานเครื่องจักร ค่าซ่อมแซมเครื่องมือ/อุปกรณ์การเกษตรและค่าดอกเบี้ยเงินกู้ จึงเห็นว่า
                  หากเกษตรกรมีที่ดินและทุนของตนเองก็จะทําให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ผลตอบแทนที่ได้รับ

                  จะสูงขึ้น เนื่องจากทานตะวันเป็นพืชที่ไม่ต้องการการบํารุงรักษามากจะเห็นได้จากค่าปุ๋ ยและ

                  สารป้ องกัน/กําจัดวัชพืช/ศัตรูพืชมีค่าใช้จ่ายตํ่า การปลูก เก็บเกี่ยวและแกะเมล็ดใช้แรงานเครื่องจักร

                  เป็นหลัก สําหรับราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.85 บาท นับว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจาก
                  ผลผลิตบางส่วนได้จากการส่งเสริมของบริษัทภาคเอกชนและรับซื้อในราคาประกัน อย่างไรก็ตาม

                  ยังมีเกษตรกรในกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 21.88 ประสบปัญหาราคาผลผลิตตกตํ่า ทั้งนี้เนื่องจากประสบปัญหา

                  คุณภาพผลผลิตตํ่า (ร้อยละ 26.04) นอกจากนี้เกษตรกรประสบปัญหาปริมาณผลผลิตตํ่า (ร้อยละ 21.88)
                  เกษตรกรต้องการให้ประกันราคาผลผลิต (ร้อยละ 82.76) จัดหาเมล็ดพันธุ์ราคาตํ่า (ร้อยละ 31.03)

                  ดังนั้น หากเกษตรกรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและนํ้ามันมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ เช่น

                  สายพันธุ์โอลิซัน 2 และโอลิซัน 3 ตามที่ภาคเอกชนได้เข้ามาแนะนําส่งเสริมและรับซื้อผลผลิต
                  ในพื้นที่ เกษตรกรก็จะมีรายได้และผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการปลูกทานตะวันที่เป็นพืชครั้งที่ 2

                  รวมทั้งเป็นการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ อีกวิธีหนึ่งด้วย ตามทัศนคติ

                  ของเกษตรกรที่เป็นตัวอย่างทุกรายที่ไม่คิดจะเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทนทานตะวัน เนื่องจาก
                  ได้ปลูกติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องทุกปีและถ้าต้องการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีแนวคิดว่า

                  ต้องเพิ่มปุ๋ ยเคมี (ร้อยละ 68.27) เพิ่มปุ๋ ยอินทรีย์และเปลี่ยนพันธุ์มีแนวคิดเท่ากัน (ร้อยละ 29.81) และใช้

                  ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 24.04)

                      จากต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนการผลิตทานตะวันจะเห็นว่าการผลิตทานตะวัน
                  ของประเทศไทยได้ผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 1,201.48 บาท มีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.32

                  การผลิตตามความเหมาะสมของพื้นที่ 3 ระดับ ได้ผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 254.34-1,912.57 บาท

                  มีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.09-1.52 นับว่าการผลิตได้รับรายได้จากการลงทุนในเกณฑ์
                  ค่อนข้างตํ่าถึงตํ่า เมื่อวิเคราะห์ความอ่อนไหวของต้นทุนและรายได้ตามหลักการทดสอบ

                  ความแปรเปลี่ยน (Switching Value Test : SVT) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้นได้สูงสุด

                  ร้อยละเท่าใด (SVT ) จึงจะทําให้ผลตอบแทนสุทธิตํ่าที่สุด (ไม่ขาดทุน) และรายได้ลดลงได้มากที่สุด
                                  C





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131