Page 121 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 121

3-39





                        ต้นทุน รายได้และผลตอบแทนตามระดับความเหมาะสมของพื้นที่ พบว่าในพื้นที่ทั้ง 3 ระดับ

                  ความเหมาะสม ได้ผลผลิตเป็นไปตามความเหมาะสมของพื้นที่คือผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 161.58-282.47 กิโลกรัม

                  รายได้/มูลค่าผลผลิตไร่ละ 3,207.36-5,607.03 บาท  ต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 2,952.08-4,229.47 บาท
                  ต้นทุนผันแปรไร่ละ 1,654.83-1,940.49 บาท  พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีต้นทุน

                  ทั้งหมดและต้นทุนผันแปรสูงที่สุดรองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ค่าใช้จ่าย

                  ที่เป็นต้นทุนผันแปร เป็นค่าวัสดุการเกษตรมากที่สุดไร่ละ 898.19-1,197.96 บาท โดยคิดเป็นสัดส่วน

                  ร้อยละ 54.28-65.34 ของต้นทุนผันแปร สัดส่วนสูงสุดในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย(S3)
                  รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรไร่ละ

                  1,374.03-3,952.20 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 254.38-1,912.57 บาท สูงสุดในพื้นที่

                  ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1) รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2)

                  ต้นทุนต่อกิโลกรัม 13.08-18.28 บาท (ราคาขายกิโลกรัมละ 19.85 บาท)ตํ่าสุดในพื้นที่ที่มีระดับ
                  ความเหมาะสมสูง (S1) รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) อัตราส่วนรายได้

                  ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.09-1.52 นับว่าการผลิตทานตะวันได้รับรายได้จากการลงทุนค่อนข้างตํ่า

                  ในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1) และตํ่าในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2)
                  และเหมาะสมเล็กน้อย (S3) (ตารางที่ 3-10)


                        3.2.3  ปัญหา ความต้องการความช่วยเหลือและทัศนคติ

                          1)  ปัญหาการผลิต
                             เกษตรกรที่ปลูกทานตะวันมีปัญหาด้านการผลิตลักษณะต่างๆ ได้แก่ แมลง/ศัตรูพืช

                  (ที่สําคัญ คือ นกพิราบ) รบกวนมีปัญหา ร้อยละ 79.17 คุณภาพผลผลิตตํ่า ร้อยละ 26.04 ราคาผลผลิตตกตํ่า

                  และปริมาณผลผลิตตํ่ามีปัญหาเท่ากัน ร้อยละ 21.88 โรคระบาด ร้อยละ 13.54 นอกนั้น ได้แก่ ผู้รับซื้อผลผลิต
                  เอาเปรียบ  ฝนแล้ง/ทิ้งช่วง ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง สภาพดินเสื่อมโทรม และขาดแคลนเงินลงทุน เป็นต้น

                  (ตารางที่ 3-11)

                             2)  ความต้องการความช่วยเหลือด้านการผลิต

                             เกษตรกรที่ปลูกทานตะวันต้องการให้ช่วยเหลือด้านการผลิตลักษณะต่างๆ ได้แก่
                  ต้องการให้ประกัน/พยุงราคาผลผลิต ร้อยละ 82.76 จัดหาเมล็ดพันธุ์ราคาตํ่า ร้อยละ 31.03 ประกัน

                  รายได้เกษตรกร ร้อยละ 19.54 จัดหาปัจจัยการผลิตราคาตํ่า ร้อยละ 18.39 จัดสร้างแหล่งนํ้า

                  เพื่อการเกษตร ร้อยละ 12.64 จัดหาตลาดรับซื้อผลผลิต ร้อยละ 9.20 นอกนั้น ได้แก่ ต้องการให้
                  ส่งเสริมและแนะนําการปรับปรุงบํารุงดิน ขุดลอกแหล่งนํ้าธรรมชาติหรือแหล่งนํ้าสาธารณะที่ตื้นเขิน

                  ส่งเสริมและแนะนําการทําการเกษตรอินทรีย์ จัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยตํ่า และจัดสรรที่ดินทํากิน

                  เป็นต้น (ตารางที่ 3-12)





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126