Page 147 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 147

3-65





                             4)  ทานตะวันพันธุ์ลูกผสมมีดอกค่อนข้างใหญ่และด้านหลังของจานดอก มีลักษณะ

                  เป็นแอ่งเหมือนกระทะก้นแบน เมื่อเมล็ดแก่จานดอกจะห้อยลงมาเวลามีฝนตกนํ้าฝนจะขังในแอ่งดังกล่าว

                  จะทําให้เกิดโรคเน่าได้ง่าย ซึ่งทําให้เมล็ดเน่าเสียหาย จึงควรปลูกทานตะวันช่วงปลายฤดูฝนหรือในฤดูแล้ง
                             5)  ทานตะวันในประเทศไทยให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ตํ่า จากข้อมูลของสํานักงานเศรษฐกิจ

                  การเกษตรในช่วง 5 ปี ระหว่างปีเพาะปลูก 2550/51-2554/55 ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 115-131 กิโลกรัม

                  ข้อมูลจากการสํารวจ ปีเพาะปลูก 2554/55 ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 252 กิโลกรัม หากปลูกทานตะวัน

                  ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มีการบํารุงรักษาดีจะให้ผลผลิตไม่ตํ่ากว่า 300 กิโลกรัมต่อไร่ แต่โดยเฉลี่ย
                  ประมาณไม่ตํ่ากว่า 200 กิโลกรัมต่อไร่ (สํานักงานเกษตรอําเภอตากฟ้า, ม.ป.ป.)

                             6)  การปลูกทานตะวันในประเทศไทยเป็นเพียงพืชทางเลือกสําหรับการปลูกพืชครั้งที่ 2

                  เพื่อให้มีรายได้เสริมของเกษตรกร การปฏิบัติเพื่อการบํารุงรักษาจึงไม่ค่อยจริงจังและใส่ใจมากนัก ทั้งการ

                  ใส่ปุ๋ ยและการกําจัดวัชพืช/ศัตรูพืช เพราะคิดว่าต้นทานตะวันสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้
                  (ข้อมูลจากการสํารวจ ปีเพาะปลูก 2554/55 เกษตรกรใส่ปุ๋ ยเคมีเฉลี่ยไร่ละ 4.39 กิโลกรัม ใช้สารเร่ง

                  การเจริญเติบโตและสารกําจัดวัชพืชอย่างละเท่ากันเฉลี่ยไร่ละ 0.01 ลิตร นอกนั้นไม่ใช้ปัจจัยเพื่อการ

                  บํารุงรักษาชนิดอื่น) ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตรแนะนําปริมาณปุ๋ ยที่เหมาะสม คือ สูตร 15-15-15
                  หรือ 16-16-8 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ปุ๋ ยยูเรีย 40-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ และในกรณีที่

                  ปลูกในดินทรายและขาดธาตุโบรอนควรใส่ผงบอแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทําให้เพิ่มผลผลิต

                  ได้มากและเมล็ดมีคุณภาพดีขึ้น (ศรีสุดา, ม.ป.ป.)
                             7)  สัตว์ศัตรูทานตะวันที่สําคัญ ได้แก่ นกพิราบ ซึ่งจะเข้ามาเกาะที่ดอก จิกกินเมล็ด

                  ที่อยู่ในดอก ทําความเสียหายแก่ทานตะวันเป็นบริเวณกว้าง (ข้อมูลจากการสํารวจ ปีเพาะปลูก

                  2554/55 เกษตรกรประสบปัญหาศัตรูพืชรบกวน ร้อยละ 79.17 ของจํานวนเกษตรกรที่สํารวจ)
                             8)  ตลาดเมล็ดพันธุ์ทานตะวันและผลผลิตเมล็ดทานตะวัน มีพื้นที่เฉพาะในแหล่งปลูก

                  ที่สําคัญ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์

                             9)  ราคานํ้ามันทานตะวันมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์นํ้ามันพืช

                  เกรดกลาง (นํ้ามันปาล์ม นํ้ามันถั่วเหลือง และนํ้ามันรําข้าว) และเป็นสินค้าที่มีตลาดกลุ่มเฉพาะ
                  (Niche Market)  แม้จะมีคุณภาพและคุณค่าต่อร่างกายสูง แต่สําหรับผู้บริโภคโดยทั่วไปยังไม่นิยม

                  ซื้อมาบริโภค เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง

                          10)  แหล่งรับซื้อและโรงงานมีเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตที่สําคัญของประเทศ
                  และโรงงานเปิดการหีบเฉพาะช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ดังนั้นในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม

                  ในท้องถิ่นอื่นหากเกษตรกรต้องการปลูกทานตะวันเป็นพืชครั้งที่ 2 หรือปลูกเป็นพืชหลักก็จะทําให้

                  เกิดปัญหาการขายผลผลิต เนื่องจากโรงงาน/แหล่งรับซื้อมีน้อยและไม่กระจาย






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152