Page 150 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 150

3-68





                          10)  การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดกลุ่มนํ้ามันพืชเกรดกลาง (นํ้ามันปาล์ม นํ้ามัน

                  ถั่วเหลือง และนํ้ามันรําข้าว) จากภาวะเศรษฐกิจและการขยายตัวของอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553

                  ทําให้ความต้องการใช้นํ้ามันกลุ่มนี้เป็นวัตถุดิบเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารสําเร็จรูปและอาหาร
                  จานด่วน ในภาคอุตสาหกรรมอาหารสําเร็จรูปมีการปรับเปลี่ยนนํ้ามันที่ใช้ผสมในอาหารจากนํ้ามัน

                  ถั่วเหลืองมาเป็นนํ้ามันทานตะวันสําหรับอาหารคุณภาพที่เน้นประโยชน์และสุขภาพของผู้บริโภค

                  โดยเฉพาะผู้บริโภคต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสของเกษตรกรผู้ผลิตและผู้แปรรูปเมล็ดทานตะวัน

                  ที่มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องรองรับผลผลิต
                          11)  ประเทศผู้ผลิตทานตะวันรายอื่นประสบภัยธรรมชาติ ภาคเกษตรได้รับความเสียหาย

                  ประเทศในแถบเอเชียนําเข้าเมล็ดทานตะวันจากประเทศไทย เช่น ประเทศเกาหลีใต้ จีน ฟิลิปปินส์

                  มาเลเซีย กัมพูชา และญี่ปุ่น เป็นต้น

                          12)  ภาครัฐและเอกชนทําการศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์ทานตะวันที่มีคุณภาพสําหรับปลูก
                  ในประเทศไทย

                          13)  มีการวิจัยการใช้ประโยชน์จากทานตะวันด้านต่างๆ ทําให้เป็นที่สนใจและต้องการ

                  ปลูกต้นทานตะวันมากขึ้น ดังนี้
                            -  ต้นทานตะวันเป็นพืชที่มีคุณสมบัติช่วยดูดสะสมสารกัมมันตภาพรังสีที่เป็น

                  อันตรายกับมนุษย์ที่พืชทั่วไปไม่สามารถทําได้ จากบทความ “บริษัทเอกชนของประเทศญี่ปุ่นนําร่อง

                  ปลูกต้นทานตะวัน 6 ไร่ ลดสารกัมมันตภาพรังสีในญี่ปุ่น :  บริษัทเอกชนของประเทศญี่ปุ่นจับมือ
                  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จัดโครงการ ปลูกทานตะวันลดสารกัมมันตภาพรังสี

                  ในพื้นที่จํานวน 6 ไร่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น

                  ในการส่งมอบเมล็ดไปเพาะพันธุ์ต่อที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อลดสารกัมมันตภาพรังสีที่ปนเปื้อนอยู่ในดิน
                  และอากาศที่จังหวัดฟุกุชิมะ จากผลกระทบของการระเบิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” (บริษัท ฟูจิตสึ ซิสเต็ม

                  บีสซิเนส (ประเทศไทย) จํากัด, 2554)

                            -  โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมโดยบริษัทโคโคบอร์ดประสบความสําเร็จ

                  ในการผลิตวัสดุทนแทนไม้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ดอกทานตะวัน แกลบ
                  และขุยมะพร้าว เพื่อใช้ประโยชน์ในการตกแต่งภายในและผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้ดี

                  (บริษัท โคโคบอร์ด จํากัด, ม.ป.ป.)

                            -  นํ้ามันดอกทานตะวันที่สําหรับใช้ในครัวเรือนมาใช้ผลิตยางรถยนต์ คิดเป็น
                  สัดส่วนประมาณร้อยละ 5 ของวัตถุดิบในการผลิตยางรถยนต์ทั้งหมด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแรงดึง

                  (traction) โดยจะช่วยลดความร้อนที่ดอกยางของล้อรถยนต์ (สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย, 2553)









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155