Page 151 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 151

3-69





                          14)  สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อน สามารถปลูกทานตะวันสายพันธุ์

                  ลูกผสมที่นําเข้ามาจากต่างประเทศได้ (แหล่งปลูกที่สําคัญของโลกส่วนใหญ่อยู่ในเขตอากาศอบอุ่น

                  ได้แก่ รัสเซีย อาร์เจนตินา และประเทศในแถบยุโรปตะวันออก)

                        3.4.4  ข้อจํากัด

                          1)  พันธุ์ทานตะวันที่นิยมปลูกในประเทศไทยถูกผูกขาดโดยบริษัทเมล็ดพันธุ์ภาคเอกชน

                             2)  การส่งเสริมของหน่วยงานราชการไม่ต่อเนื่องและลดความสําคัญของพืชทานตะวัน

                  หน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ไม่สามารถรองรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ได้
                  จากบทบาทการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อจําหน่ายให้กับเกษตรกรเปลี่ยนมาทําหน้าที่ในการสนับสนุนกิจการ

                  ของบริษัทเมล็ดพันธุ์ ทําให้เกษตรกรเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ได้ยากและมีราคาสูง

                             3)  การนําเข้าเมล็ดพันธุ์ทานตะวันของบริษัทขายเมล็ดพันธุ์มีปริมาณไม่แน่นอน
                  ซึ่งอาจทําให้ปริมาณเมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตัวแทนจําหน่ายและเกษตรกรได้

                  เนื่องจากบริษัทขายเมล็ดพันธุ์ไม่ค่อยกล้านําเข้าเมล็ดพันธุ์ทานตะวันมาทําตลาดมากนัก เพราะเกรงว่า

                  เมล็ดพันธุ์จะเหลือเกินความต้องการ
                             4)  การรับซื้อผลผลิตมีการเอาเปรียบด้านราคา โดยการติคุณภาพผลผลิต เช่น ความชื้น

                  สิ่งเจือปน เมล็ดลีบ และผลผลิตมีหลายพันธุ์ปะปนกัน เป็นต้น กดราคารับซื้อทําให้เกษตรกรขาย

                  ผลผลิตได้ราคาตํ่า
                             5)  การประกันราคารับซื้อผลผลิตของบริษัทขายเมล็ดพันธุ์ จะรับซื้อผลผลิตคืนในราคา

                  ประกันเฉพาะพันธุ์ที่กําหนดและมาตรฐานการรับซื้อเมล็ดทานตะวันของอุตสาหกรรมนํ้ามันพืช

                  เท่านั้นและไม่รับซื้อเมล็ดทานตะวันที่หลายสายพันธุ์ปะปนกัน นอกจากนี้โครงการรับซื้อในราคา

                  ประกันดําเนินการไม่ต่อเนื่องและรับซื้อเฉพาะเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ 4 จังหวัด เท่านั้น
                             6)  นํ้ามันทานตะวันที่มีจําหน่ายในตลาดประเทศไทย ผลิตจากวัตถุดิบ (เมล็ดทานตะวัน)

                  ในประเทศและนําเข้านํ้ามันทานตะวันสําเร็จรูปจากต่างประเทศ ทําให้ต้นทุนแตกต่างกัน ราคา

                  จําหน่ายจึงแตกต่างกันด้วย การเลือกซื้อมาบริโภคขึ้นกับการตัดสินใจของผู้บริโภคทั้งด้านคุณภาพ
                  และราคา นอกจากนี้นํ้ามันพืชในตลาดมีหลายชนิดและสามารถใช้นํ้ามันพืชชนิดอื่นทดแทน

                  ในการประกอบอาหารได้ ซึ่งผู้บริโภคโดยทั่วไปนิยมใช้นํ้ามันถั่วเหลืองและนํ้ามันปาล์ม เนื่องจาก

                  ราคาตํ่ากว่านํ้ามันทานตะวัน
















                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156