Page 156 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 156

4-4






                          -  ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม เพื่อสร้างองค์กรที่มีศักยภาพ สามารถแลกเปลี่ยนความรู้

                  ประสบการณ์ในกลุ่มสมาชิก ประสานงานกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการมีอํานาจทางการตลาด

                  สามารถต่อรองราคาได้
                          -  ปรับปรุงประมาณการผลผลิตล่วงหน้าหรือการพยากรณ์ผลผลิตให้มีความแม่นยํามากขึ้น

                  เนื่องจากสภาพทางธรรมชาติเป็นตัวแปรสําคัญที่ทําให้ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงได้ สถานการณ์ที่เป็นจริง

                  จะช่วยในการวางแผนรับมือได้อย่างเหมาะสม


                        4.3.2  มาตรการด้านการแปรรูป
                          -  ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพในการดําเนินธุรกิจแปรรูป

                  โดยเน้นการผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

                          -  จัดหาแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยตํ่า เพื่อการลงทุนสร้างและการปรับปรุงที่มีอยู่เดิม
                  รวมทั้งเงินหมุนเวียนการดําเนินธุรกิจการค้าแก่สถาบันเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน

                          -  ส่งเสริมการพัฒนาการแปรรูปในเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น ทั้งระดับสถาบันเกษตรกร

                  วิสาหกิจชุมชน และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ โดยสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน
                  สถาบันเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน


                        4.3.3  มาตรการด้านการตลาด

                          -  ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประสานงานและการสร้างเครือข่ายการค้าระหว่าง
                  ธุรกิจเอกชนกับสถาบันเกษตรกรร่วมกันในการวางแผนการตลาดและการกําหนดราคาที่เป็นธรรม

                          -  ส่งเสริมและสนับสนุนกลไกตลาดให้ดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสนับสนุน

                  เงินทุนหมุนเวียนให้สถาบันเกษตรกร เพื่อรวบรวมผลผลิตผ่านกระบวนการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยง
                  ระบบการค้ากับสถาบันเกษตรกรนอกแหล่งผลิตในประเทศและผู้ประกอบการค้าในตลาดภายในประเทศ

                  รวมทั้งประสานงานด้านการตลาดต่างประเทศ เพื่อเพิ่มช่องทางการจําหน่ายให้แก่สถาบันเกษตรกร

                          -  เพิ่มการบริโภคทานตะวันภายในประเทศ โดยการส่งเสริมการตลาดภายในประเทศ

                  เช่น รณรงค์และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประโยชน์ทางโภชนาการของทานตะวันเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
                          -  ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีสถาบันเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนดําเนินการตลาด

                  ร่วมกับผู้ประกอบการค้าเอกชนไทยและผู้ประกอบการต่างประเทศ โดยการทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

                  และหรือการร่วมลงทุนในการทําธุรกิจการตลาดทานตะวันและผลิตภัณฑ์ทานตะวัน
                          -  พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ

                          -  ส่งเสริมและสนับสนุนระบบการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารด้านการผลิตและการตลาด

                  ของทานตะวันทั้งระบบกระจายสู่สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกร โดยมีศูนย์สารสนเทศกลาง







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161