Page 154 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 154

4-2






                           4.1.2  เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II) หลักเกณฑ์และปัจจัยพิจารณา คือ

                          -  เป็นพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย

                          -  เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกทานตะวัน

                          -  เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสําหรับการปลูกทานตะวันในระดับสูง

                           4.1.3  เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย (Z-III) หลักเกณฑ์และปัจจัยพิจารณา คือ

                          -  เป็นพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย

                          -  เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกทานตะวันอยู่ในปัจจุบัน
                          -  เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสําหรับการปลูกทานตะวันในระดับเล็กน้อย



                  4.2  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน

                        จากหลักเกณฑ์การกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวันข้างต้นได้ทําการวิเคราะห์
                  ข้อมูลทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้เนื้อที่ 319,028 ไร่  โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 4-1 ถึง

                  ตารางที่ 4-2 และรูปที่ 4-1 ถึง รูปที่ 4-4)

                        4.2.1  เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I)

                             มีเนื้อที่ 115,779 ไร่ หรือร้อยละ 36.29 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน ผลผลิตคาดการณ์

                  30,357 ตัน โดยจังหวัดลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่ในเขตนี้มากที่สุด เท่ากับ 67,413 ไร่

                             แนวทางการพัฒนา
                          -  แนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมี

                          -  แนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรจัดการสวนตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)

                          -  แนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อการบริหารจัดการผลผลิต การตลาด

                  การบริหารในรูปกลุ่ม และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

                        4.2.2  เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II)

                             มีเนื้อที่ 177,789 ไร่ หรือร้อยละ 55.73 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน มีผลผลิตคาดการณ์
                  44,863 ตัน โดยจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่ในเขตนี้มากที่สุด เท่ากับ 103,622 ไร่

                             แนวทางการพัฒนา

                          -  แนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกทานตะวันในฤดูแล้งโดยใช้พันธุ์ส่งเสริม
                          -  แนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมี

                          -  แนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรจัดการสวนตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159