Page 153 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 153

บทที่ 4

                                                     เขตการใช้ที่ดิน



                        ทานตะวันเป็นพืชนํ้ามันที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีพื้นที่

                  ปลูกทานตะวันส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ สระบุรี และ
                  เพชรบูรณ์ ตามลําดับ เมื่อปีการผลิต 2554/55 มีเนื้อที่ยืนต้นทั้งประเทศ 185,600 ไร่ ผลผลิตรวม

                  24,310 ตัน (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2555) ทานตะวันสามารถปลูกเป็นพืชฤดูแล้งตามหลัง

                  พืชหลักในฤดูฝนได้ เนื่องจากทานตะวันเป็นพืชที่มีระบบรากลึกจึงค่อนข้างทนแล้งได้ดี รวมถึง
                  ทานตะวันสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกสภาพ การดูแลรักษาง่าย ปัญหาโรคและแมลงน้อย

                  นอกจากนี้การปลูกทานตะวันในฤดูแล้งยังเป็นรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย

                        กรมพัฒนาที่ดินได้เห็นถึงความสําคัญของการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมโดยได้มีการกําหนดเขต
                  การใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน โดยตั้งเป้าหมายเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสําหรับการปลูก

                  ทานตะวันและมีศักยภาพในการปลูกทานตะวัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ

                  ทานตะวัน


                  4.1  หลักเกณฑ์การกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน

                        การกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวันมีเงื่อนไขหลัก ดังนี้

                        - เป็นพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย (เขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย ได้แก่

                  ป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า)
                        - เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกทานตะวันอยู่ในปัจจุบันหรือมีศักยภาพในการปลูกทานตะวัน

                        จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการกําหนดเขตการใช้ที่ดิน ได้กําหนดเขตการใช้ที่ดินเฉพาะในพื้นที่

                  ที่มีการปลูกทานตะวันอยู่ในปัจจุบันเป็นบริเวณกว้าง 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์
                  เพชรบูรณ์ ลพบุรี และสระบุรี ในการพิจารณาจัดทําเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน แบ่งเป็น 3 เขต

                  คือ เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I)    เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II)

                  และเขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย (Z-III)  โดยมีหลักเกณฑ์และปัจจัยในการพิจารณาจัดทํา

                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน ดังนี้

                           4.1.1  เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) หลักเกณฑ์และปัจจัยพิจารณา คือ

                          -  เป็นพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย
                          -  เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกทานตะวันอยู่ในปัจจุบัน

                          -  เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสําหรับการปลูกทานตะวันในระดับสูงถึงปานกลาง






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158