Page 148 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 148

3-66





                          11)  การนําเข้าเมล็ดทานตะวัน เนื่องจากผลผลิตภายในประเทศมีปริมาณไม่เพียงพอกับ

                  ความต้องการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่พื้นที่ปลูกในช่วง 5 ปี ลดลงในอัตราเฉลี่ยร้อยละ

                  1.20 ต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.07 ต่อปี ปริมาณนําเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย
                  ร้อยละ 10.84 ต่อปี มูลค่านําเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 16.60 ต่อปี การนําเข้าเมล็ดทานตะวัน

                  จากต่างประเทศทําให้การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีต้นทุนสูงขึ้นและประเทศต้องเสียค่าใช้จ่าย

                  เป็นมูลค่าของเงินตราต่างประเทศเพื่อซื้อวัตถุดิบอีกด้วย
                          12)  เกษตรกร/วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการในท้องถิ่นขาดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง

                  ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตและการตลาด
                          13)  ทานตะวันเป็นพืชที่หน่วยงานภาคราชการให้ความสําคัญลดลง ทั้งๆ ที่ทานตะวัน

                  เป็นพืชนํ้ามันที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจเป็นที่ต้องการของตลาดโลกและตลาดภายในประเทศ

                  รองจากถั่วเหลืองและปาล์มนํ้ามัน การสนับสนุนส่งเสริมในประเทศส่วนใหญ่เป็นบทบาท
                  ของภาคเอกชน เนื่องจากมีความต้องการใช้ผลผลิต

                        3.4.3  โอกาส

                          1)  มีโครงการส่งเสริมการปลูกทานตะวันครบวงจร โดยความร่วมมือของหน่วยงาน

                  ภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ที่เป็นแหล่งปลูก 4 จังหวัด คือ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์
                  และเพชรบูรณ์ หน่วยงานที่สําคัญ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

                  สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัทขายเมล็ดพันธุ์

                  และเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น พันธุ์ที่แนะนําให้ปลูก
                  ภายใต้โครงการ ได้แก่ พันธุ์โอลิซัน 2 และโอลิซัน 3 โดยมีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทําให้เกษตรกร

                  มีหลักประกันทางการตลาดที่แน่นอนนับเป็นโอกาสที่จะขยายพื้นที่ปลูกและเพิ่มผลผลิตทานตะวัน

                             2)  ภาคเอกชนให้การแนะนําและถ่ายทอดแนวคิด การเพิ่มผลผลิต ช่วงเวลาการปลูก
                  แก่เกษตรกรในโครงการ ทําให้เกษตรกรได้รับความรู้และวิธีการปฏิบัติเพื่อเพิ่มผลผลิตของตนเอง

                             3)  เมล็ดพันธุ์ทานตะวันตามโครงการส่งเสริม คือ พันธุ์โอลิซัน 2 และโอลิซัน 3 ได้รับการ

                  ยอมรับจากต่างชาติว่าเป็นพันธุ์เดียวในประเทศไทยที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง (High Oleic Sunflower)
                  เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ (สุรัตน์, 2555)

                             4)  ราคาการซื้อขายเมล็ดทานตะวันพันธุ์พิเศษ (โอลิซัน 2 และโอลิซัน 3) ที่ภาคเอกชน
                  แนะนํา เกษตรกรจะขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงกว่าพันธุ์ทั่วไปกิโลกรัมละ 2 บาท สําหรับ

                  เมล็ดทานตะวันทั่วไปราคามีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากนํ้ามันพืชชนิดอื่นมีราคาสูงขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553

                  (ข้อมูลจากการสํารวจ ปีเพาะปลูก 2554/55 ราคาเมล็ดทานตะวันที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 19.85 บาท)
                  จะทําให้เกษตรกรหันมาสนใจที่จะปลูกเพิ่มขึ้นหรือขยายพื้นที่ปลูกเพื่อให้ได้รายได้เพิ่มขึ้น

                  ทําให้ผลผลิตเมล็ดทานตะวันเพิ่มขึ้นตามมา





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153