Page 145 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 145

3-63





                             5)  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมทางกายภาพสูง (S1)  สําหรับปลูกทานตะวันส่วนใหญ่

                  อยู่ในภาคเหนือและภาคกลาง ร้อยละ 41.61 และ 38.82 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสําหรับปลูก

                  ทานตะวันทั้งประเทศ ตามลําดับ แหล่งปลูกในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1)  ได้แก่ จังหวัด
                  สระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ยังคงเป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตทานตะวันที่สําคัญ

                  ของประเทศ และจะปลูกทานตะวันเป็นพืชครั้งที่ 2 ต่อไป จากข้อมูลที่สํารวจได้เกษตรกรทุกราย

                  ให้ความคิดเห็นว่า จะปลูกทานตะวันต่อไปโดยไม่คิดจะเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น

                             6)  ทานตะวันเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก ดอกไว้ประดับ เมล็ดไว้ขบเคี้ยว และที่สําคัญ
                  ใช้เป็นวัตถุดิบสําหรับสกัดนํ้ามัน และทุกส่วนสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งโดยตรงและแปรรูป

                  ได้แก่ เมล็ดใช้สกัดเป็นนํ้ามัน เมล็ด/เมล็ดกะเทาะเปลือกนําไปแปรรูปเป็นแป้ งประกอบอาหาร

                  และขนมรูปแบบต่างๆ (เช่น เมล็ดทานตะวันอบแห้ง คุกกี้ทานตะวัน ทานตะวันแผ่น และเมล็ดทานตะวัน

                  เคลือบช็อกโกแลต เป็นต้น) ใช้ประกอบอาหารและเป็นส่วนผสมในอาหาร (เช่น ใส่ในสลัด ยํา
                  ข้าวอบเมล็ดทานตะวัน และคลุกเนื้อสัตว์แทนขนมปัง เป็นต้น) ลําต้นและจานดอกใช้ทําเป็นเชื้อเพลิง

                  และไถกลบจะเป็นปุ๋ ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน เยื่อใยจากลําต้นใช้ทํากระดาษคุณภาพดี กากเมล็ด

                  ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ ถ่านอัดแท่งจากกากดอกทานตะวัน นอกจากนี้แกนต้น ใบ ดอก
                  ฐานรองดอก เมล็ด เปลือกเมล็ด ราก มีสรรพคุณทางยา ใช้รักษาโรคต่างๆ ได้ (วรรณิสา, 2552)

                  อาหารสุขภาพจากเมล็ดทานตะวันงอกและต้นอ่อนทานตะวันใช้เป็นผักสลัด ทําอาหาร และนํ้าผักดื่ม

                  เป็นต้น (องอาจ, 2553)
                             7)  นํ้ามันจากเมล็ดทานตะวันเป็นนํ้ามันพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีกรดไขมัน

                  ที่ไม่อิ่มตัวสูง เป็นที่ต้องการของร่างกายคนแต่ไม่สามารถผลิตเองได้ตามธรรมชาติ กรดไขมัน

                  ประเภทนี้ช่วยลดคลอเรสเตอรอลในร่างกาย นอกจากนี้ในนํ้ามันทานตะวันยังประกอบด้วยสารอาหาร
                  ที่มีประโยชน์อีกหลายชนิด เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ บี ดี อี เค และเกลือแร่

                  เป็นต้น นอกจากจะใช้นํ้ามันทานตะวันบริโภคโดยตรงในครัวเรือนแล้วยังนําไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม

                  หลายประเภท เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เวชสําอางและผลิตภัณฑ์บํารุงผิว ได้แก่ สบู่ก้อน สบู่เหลว

                  นํ้ามันชักเงา นํ้ามันหล่อลื่นเครื่องยนต์ สีทาอาคาร ทําเทียนไข เคลือบผิวผลไม้ อุตสาหกรรมฟอกสี
                  ครีมบํารุงผิว ครีมกันแดด ครีมหมักผม นํ้ามันนวดตัว และครีมสมุนไพรผสมนํ้ามันทานตะวัน เป็นต้น

                  ผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ทูน่าสเต็กในนํ้ามันทานตะวัน นํ้าสลัด และเนยเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น

                             8)  นํ้ามันจากเมล็ดทานตะวันมีสาร antioxidants กันหืนได้ดี สามารถเก็บไว้ได้นานกว่า
                  นํ้ามันพืชชนิดอื่น โดยสี กลิ่น และรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง












                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150