Page 146 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 146

3-64





                             9)  ดอกทานตะวันมีลักษณะเด่นที่ดอกมีขนาดใหญ่สีเหลืองทองและชูดอกอยู่บนปลายยอด

                  ของลําต้น จึงดูเด่นแลเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังหันหน้าไปทางดวงอาทิตย์อยู่เสมอ จึงมีดอก

                  ที่เงยหน้าขึ้นและไปทางทิศเดียวกันทั้งหมด แตกต่างจากดอกไม้ชนิดอื่น เมื่ออยู่รวมกันจํานวนมาก
                  ยิ่งเพิ่มความงดงาม เพราะมองเห็นแต่ดอกทานตะวันสูงลอยขึ้นเหนือลําต้นและใบหันหน้าไปทางเดียวกัน

                  ทุกดอก ก่อนเก็บผลผลิตจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในช่วงต้นฤดูหนาว

                          10)  ทานตะวันมีต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมตํ่ากว่าราคาที่เกษตรกรขายได้ ทําให้

                  เกษตรกรได้รับกําไร ข้อมูลจากการสํารวจการผลิตทานตะวัน ปี เพาะปลูก 2554/55 มีต้นทุน
                  ต่อกิโลกรัม 15.09 บาท เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 19.85 บาท ได้กําไรต่อกิโลกรัม 4.76 บาท หรือ

                  กําไรต่อไร่ 1,201.48 บาท การผลิตไม่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากและซับซ้อน การใช้สารเคมีมีปริมาณน้อย

                  เนื่องจากทานตะวันเป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ ย (ข้อมูลจากการสํารวจเกษตรกรมีความคิดเห็นว่า

                  ปริมาณผลผลิตจะเพิ่มขึ้นโดยการใส่ปุ๋ ยเคมี ร้อยละ 68.27 ของจํานวนเกษตรกรที่สํารวจและร้อยละ
                  29.81 มีความเห็นว่าใส่ปุ๋ ยอินทรีย์) และไม่มีศัตรูพืชที่รุนแรง ทําให้ประหยัดต้นทุนและปลอดภัย

                  ต่อเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

                          11)  มีแหล่งรับซื้อ/ตัวแทนและโรงงานรับซื้อผลผลิตในท้องถิ่น เกษตรกรไม่ต้องเก็บ
                  ผลผลิตไว้นานและไม่มีสถานการณ์ผลผลิตเมล็ดทานตะวันล้นตลาด

                          12)  ราคาเมล็ดทานตะวันมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตยังไม่เพียงพอสําหรับ

                  ใช้เป็นวัตถุดิบสกัดนํ้ามันภายในประเทศ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรขยาย
                  การผลิตและเพิ่มผู้ผลิตรายใหม่ โดยสามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกตามระดับความเหมาะสมทางกายภาพ

                  ได้อีกมาก

                          13)  นํ้ามันทานตะวันในตลาดนํ้ามันพืชของประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นํ้ามันพืช
                  เกรดพิเศษ (พรีเมี่ยม) ที่เน้นคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ

                  ยอมรับนํ้ามันทานตะวันคุณภาพดีจากประเทศไทย


                        3.4.2  จุดอ่อน
                          1)  ขาดแคลนพันธุ์คุณภาพดีของทางราชการ พันธุ์สังเคราะห์ที่พัฒนาโดยภาครัฐ

                  ให้ผลผลิตตํ่าและปริมาณการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร

                             2)  เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีคุณภาพดีได้ผลผลิตสูง ต้องนําเข้าจากต่างประเทศและมีราคาสูง

                  ทําให้เกษตรกรหาซื้อพันธุ์ยากและต้นทุนการผลิตสูง (ข้อมูลจากการสํารวจ ปีเพาะปลูก 2554/55
                  ค่าพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 30.18 ของต้นทุนผันแปร)

                             3)  เมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่ได้จากพันธุ์ลูกผสมเกษตรกรไม่สามารถเก็บรักษาพันธุ์

                  ไปปลูกต่อได้และยังไม่มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมในประเทศไทย





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151