Page 210 - Chumphon
P. 210

5-28





                  แหล่งน้ำทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินได้ การส่งเสริมการใช้ระบบน้ำหยดในการเพาะปลูก (Microirrigation/drip)

                  ช่วยลดการสูญเสียน้ำ การปศุสัตว์ (Livestock) การเลี้ยงสัตว์ เช่น สัตว์เล็มหญ้านั้นหากมีการจัดการไม่ดี
                  อาจส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนของมูลสัตว์สู่แหล่งน้ำได้ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพร่ขยายของเชื้อ
                  แบคทีเรียโคลิฟอร์ม (Coli form bacteria) ในแหล่งน้ำผิวดิน ดังนั้นควรมีการจัดการมูลสัตว์ให้

                  เหมาะสมโดยการสร้างบ่อกักเก็บ และการประยุกต์ใช้ผลิตก๊าซชีวภาพหรือทำเป็นปุ๋ยได้ด้วย
                                        (3) การเลือกพืชปลูกใช้น้ำน้อย ซึ่งการปลูกพืชจำพวกสมุนไพร หรือ
                  หญ้าช่วยรักษาความชื้นในดินมากกว่าไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เนื่องจากพืชสมุนไพรมีอัตราการคายน้ำต่ำ
                  กว่าซึ่งสามารถลดอัตราการใช้น้ำได้ ดังนี้ ในพื้นที่ทางการเกษตร การปลูกพืชคลุมดินกลุ่มนี้สามารถลด
                  การกร่อนของดินแล้วยังรักษาความชื้นในดินด้วย ซึ่งจะเป็นการประหยัดน้ำในการเพาะปลูกได้อีก

                  แนวทางหนึ่ง เป็นต้น
                                        (4) แหล่งน้ำจากอุตสาหกรรม น้ำเสียจากอุตสาหกรรม (Industrial
                  water waste) โรงงานต้องวางแผนการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ลดการปล่อยน้ำเสียโดยการทำบำบัดน้ำก่อน

                  ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้ว่าการสร้างโรงบำบัดน้ำจะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ดี
                                        (5) การรักษาแหล่งน้ำจากกิจกรรมชุมชน น้ำเสียจากชุมชน
                  (Municipal water waste) การลดการปล่อยน้ำเสียจากชุมชนหรือครัวเรือนลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดย
                  การสร้างบ่อกักเก็บอย่างถูกวิธี ทำการติดตั้งสุขภัณฑ์และระบบประหยัดน้ำ ปรับปรุงนิสัยการบริโภค

                  เท่าที่เหมาะสมและจำเป็นเพื่อลดของเสีย การลดการใช้น้ำเป็นการช่วยประหยัดเงินไปในตัวด้วย
                  อย่างไรก็ตาม น้ำเสียจากชุมชนนั้นสามารถทำการบำบัดได้
                                        (6) การพัฒนาเมือง (Urban development) การก่อสร้างอาคาร
                  และการตัดถนนเป็นปัญหาใหญ่ต่อแหล่งน้ำและพื้นที่ลุ่มน้ำมาก การขยายตัวของเมืองทำให้ลุกล้ำเข้าไป

                  ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ส่งผลต่อการซึมผ่านของน้ำ และเกิดปัญหาต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของน้ำบาดาล
                  การสร้างถนนตัดขวางทางน้ำธรรมชาติ เช่น ถนนวงแหวนรอบเมืองหากมีการวางแผนไม่ดี อาจเกิดน้ำท่วม
                  ได้ง่ายซึ่งสามารถแก้ได้ที่ตัวต้นเหตุ ซึ่งก็คือมนุษย์ ดังนี้
                                          - ไม่ทิ้งเศษขยะมูลฝอย สิ่งสกปรกโสโครก ลงไปในแม่น้ำลำคลอง

                                          - ควรมีมาตรการห้ามไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมทิ้งน้ำเสียลงในแม่น้ำ
                                          - ประชาชนทุกชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชน ควรช่วยกันรักษา
                  ต้นน้ำลำธาร

                                    2) การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งควรมีการแยกท่อน้ำฝน น้ำเสีย และท่อน้ำ
                  นำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า นอกเหนือจากการนำน้ำฝน “Rain
                  Water” มาใช้ เพียงรองน้ำฝนจากรางน้ำที่หลังคาให้ไหลผ่านท่อมายังถังเก็บน้ำ ผ่านการกรองเพื่อคัด
                  แยกสิ่งปนเปื้อน เอาสารแขวนลอยออก และลดปริมาณแบคทีเรียในน้ำ แล้วจึงนำมาผ่านการบำบัดด้วย
                  แสงอัลตราไวโอเลต ก็จะได้น้ำที่สะอาดพอสำหรับนำมาซักผ้า รดน้ำต้นไม้ หรือล้างรถได้ และมีน้ำใช้แล้ว

                  “Grey Water” ซึ่งเป็นน้ำจากอ่างล้างมือ น้ำจากการอาบน้ำ (ไม่รวมน้ำโสโครก “Black Water”
                  โดยนำมากรองและฆ่าเชื้อเพื่อให้มั่นใจว่าน้ำสะอาดพอและจะไม่มีเชื้อโรคเจือปน เริ่มจากการกรองเพื่อ
                  แยกเอาอนุภาคหรือสารอาหารของแบคทีเรียที่ปนเปื้อนออกก่อนเข้าสู่ถังเก็บ จากนั้น ฆ่าเชื้อซึ่งวิธีที่นิยม

                  ใช้คือการใช้สารฆ่าเชื้อชนิดที่มีคลอรีนหรือโบรมีนเป็นส่วนประกอบ แต่น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วอาจ
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215