Page 215 - Chumphon
P. 215

5-33





                  รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทาง

                  ธรรมชาติ โดยเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (มายถึง เมืองที่มีการเจริญเติบโตโดยมีอุตสาหกรรมเป็นตัว
                  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก และมีความสมดุลกับการพัฒนาทางสังคม และความเป็นอยู่ของประชาชน
                  และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนา

                  อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จำแนกตามพื้นที่ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ (1) ระดับปัจเจกบุคคล
                  (Eco Factory หรือ Factory Level) (2) ระดับกลุ่มอุตสาหกรรม/นิคมอุตสาหกรรม (Eco Industrial
                  Group หรือ Eco Industrial Level) (3) ระดับเมือง (Eco Town Level) และ (4) ระดับเมืองใหญ่หรือ
                  นคร (Eco City) หรือกลุ่มเครือข่ายเมืองใหญ่ (กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ, 2562)
                            5.2.2.6  การอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ

                  ของประเทศไทยจะสามารถจำแนกออกได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และ
                  สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ควรปฏิบัติดังนี้
                                  1) การป้องกันไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเสียหาย อย่างเช่น เกิดไฟไหม้ป่า

                  เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่เข้าไปถากถางนำเอาพื้นที่บางส่วนมาใช้ทำการเพาะปลูก การลักลอบเข้า
                  ไปล่าสัตว์ การปล่อยน้ำเสียต่าง ๆ ลงไปในแหล่งน้ำซึ่งทำให้น้ำเกิดมลภาวะขึ้นมา และการขีดเขียน
                  ข้อความต่าง ๆ ตามต้นไม้ โขดหิน โดยสิ่งเหล่านี้จะเป็นการทำให้สถานที่ท่องเที่ยวได้รับความเสียหาย
                  เกิดขึ้นดังนั้นการป้องกันสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญการรักษาสถานที่ท่องเที่ยวให้คงไว้ตามธรรมชาติ

                  จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะคงสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนั้นๆ ให้คงอยู่ตลอดไป ทั้งควรมีการจัดสิ่งอำนวยความ
                  สะดวกต่างที่จะมีขึ้นในสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ
                                  2) การรักษาความสะอาด นับว่ามีความสำคัญมากเพราะสถานที่ท่องเที่ยว
                  จะน่าเที่ยวหรือไม่จะขึ้นอยู่กับความสะอาดเป็นปัจจัยที่สำคัญ เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมี

                  นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก โอกาสที่นักท่องเที่ยวจะสร้างความสกปรกเกิดขึ้น
                  จึงมีมาก ดังนั้นผู้รับผิดชอบจึงต้องจัดหาเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดโดยตรงเพื่อเก็บกวาดเศษขยะ
                  นอกจากนี้ทางสถานที่ท่องเที่ยวยังต้องหาสถานที่ทิ้งขยะอย่างเพียงพอ เพื่อที่นักท่องเที่ยวจะได้นำเอาสิ่ง
                  ที่ไม่ต้องการไปทิ้ง เพราะขยะนอกจากจะทำให้สถานที่ท่องเที่ยวสกปรกแล้วยังอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์

                  ป่าในบริเวณนั้นด้วย
                                  3) ไม่ควรสร้างสิ่งก่อสร้างละปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวมากเกินไป
                  เพราะจะทำให้ความเป็นธรรมชาติของสถานที่ท่องเที่ยวสูญเสียไป

                                  4) การปฏิบัติตามระเบียบของสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัด เพื่อต้องการ
                  ที่จะรักษาหรืออนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติเอาไว้ ผู้ใช้บริการจึงต้องปฏิบัติตามระเบียบที่
                  สถานที่ท่องเที่ยวนั้น
                                  5) จัดเจ้าหน้าที่ในการดูแลและรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
                  เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสถานที่ท่องเที่ยว

                                  6) การประชาสัมพันธ์ เพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปใช้บริการ
                  และการขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปเพื่อป้องกันมิให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไป
                  มากเกินกว่าสถานที่ท่องเที่ยวจะรับได้ และสามารถที่จะควบคุมให้นักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตามระเบียบ

                  ข้อบังคับของสถานที่ท่องเที่ยวได้
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220