Page 214 - Chumphon
P. 214

5-32





                                       5) ป่าในเมืองจากกระแสเรื่องโลกร้อนนั้น ป่าไม้จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งใน

                  การแก้ปัญหาโลกร้อน และประชาชนโดยทั่วไปก็สามารถมีส่วนร่วมได้ไม่จำกัด โดยเฉพาะประชาชนที่
                  อาศัยอยู่ในเขตแนวป่าหรือบริเวณใกล้เคียง ประชาชนในเขตเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานครและ
                  ปริมณฑลก็สามารถมีส่วนร่วมในเรื่องการจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืนได้เช่นกัน โดยผ่านการยอมรับลักษณะของ

                  ป่าในเมือง (urban forest) ที่มีความหมายกว้างกว่าพื้นที่สีเขียว (green area) ป่าในเมือง
                  เป็นองค์ประกอบของการป่าไม้ในเมือง (urban forestry) ที่ว่าด้วยการจัดการต้นไม้ในเมืองทั้งแบบ
                  มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ การบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ของการจัดการต้นไม้ในเขตเมืองที่คำนึงถึง
                  คุณลักษณะพื้นฐาน ปัจจัยด้านสังคม คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยในเขตเมือง ผ่านการมีส่วนร่วม
                  ของประชาชนที่อยู่อาศัย

                            5.2.2.5  พื้นที่อุตสาหกรรม ปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงศตวรรษ
                  ที่ผ่านมา ทำให้หลายประเทศให้ความสำคัญต่อการลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งกว่า 90 เปอร์เซ็นต์มาจาก
                  ก๊าซเรือนกระจก จากการใช้พลังงานถ่านหินและฟอสซิล รวมทั้งการทำลายป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งสร้าง

                  สมดุลตามธรรมชาติที่สำคัญที่สุด ควรพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ดังนี้
                                         1) การสร้างอุตสาหกรรมสีเขียวใหม่ (Creating the new Green Industry)
                  การส่งเสริมและสร้างเทคโนโลยีสีเขียว เช่นแผงวงจรแสงอาทิตย์ กังหันพลังงานลม โรงแยกและกำจัดขยะ
                  การส่งเสริมและสร้างการผลิตเพื่อตอบสนองต่อตลาดภายในและการค้าระหว่างประเทศ การส่งเสริม

                  และสร้างอุตสาหกรรมสีเขียวใหม่รวมไปถึงการผลิตสินค้า และบริการที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมสีเขียว
                  อาทิ การให้คำปรึกษาด้านการประหยัดหลังงานของภาคอุตสาหกรรม ฐานข้อมูลสารเคมี ฯลฯ การพัฒนา
                  ไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวนั้นต้องอาศัยความมุ่งมั่นและตั้งใจอย่างแท้จริง ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ความ
                  เข้าใจและทัศนคติที่ดี

                                         2) เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) การพัฒนาทางด้าน
                  เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศ
                  มีแนวโน้มเสื่อมโทรม รุนแรง จากการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกายภาพ การใช้ประโยชน์การเปลี่ยนแปลง
                  สภาพภูมิอากาศส่งผลให้ สถานการณ์และแนวโน้มความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและ

                  สิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรง โดยเฉพาะ น้ำท่วม ภัยแล้ง การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ไม่คุ้มค่า และ
                  ปริมาณของเสียที่เพิ่มขึ้น นําไปสู่ความเสี่ยงต่อ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงการ
                  กัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง กระทบต่อฐานการผลิตภาคเกษตร

                  ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน สุขภาวะและคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงมีนโยบาย
                  การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อมุ่งสู่การสร้างสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
                  สิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมีการ
                  ปรับเปลี่ยนการผลิต จากที่เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานเป็นฐานการผลิต ไปสู่การผลิตที่
                  เป็นการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี องค์ความรู้ นวัตกรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยนำแนว

                  ทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา
                  อุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และสังคมชุมชน
                  โดยสอดคล้องกับ พันธกิจของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559)

                  ข้อ 4 คือ สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมี ส่วนร่วมของชุมชน
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219