Page 213 - Chumphon
P. 213

5-31





                  อัจฉริยะ (Smart City) คือปัจจัยสำคัญในการพัฒนา และวางแผนเมืองอย่างชาญฉลาด เพื่อสนับสนุน

                  การท่องเที่ยวเมืองรอง
                                       4) การนำแนวคิดการออกแบบเมืองสมัยใหม่ การออกแบบเพื่อมวลมนุษยชาติ
                  หรือการออกแบบเพื่อการใช้งานของคนทุกกลุ่มในสังคม (universal design; UD) คือการออกแบบ

                  สิ่งแวดล้อม สถานที่ และสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงในกลุ่มคนทำงานด้านผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสต่าง ๆ
                  ที่มีข้อจำกัดในการใช้ หรือเข้าถึงสิ่งแวดล้อมสถานที่และสิ่งของเครื่องใช้ทั่ว ๆ ไปในสังคม ในการออกแบบ
                  จะคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ที่เป็นสากล และใช้ได้ทั่วไปอย่างเท่าเทียมกันสำหรับมวลมนุษย์ทุกคนในสังคม
                  โดยไม่ต้องมีการออกแบบดัดแปลงพิเศษหรือเฉพาะเจาะจง เพื่อบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ
                  การใส่ใจเพียงน้อยนิด ช่วยเปลี่ยนชีวิตให้คนทั้งเมือง UD เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงการใช้งานการใช้

                  ให้คุ้มค่า สมประโยชน์ ครอบคลุมสำหรับทุกคน โดยเริ่มต้นจากการคิดว่าทำอย่างไรคนประเภทต่าง ๆ
                  จึงจะมีโอกาสมาใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่น คนสูงอายุ คนป่วย สตรีตั้งครรภ์ คนแคระ เด็กเล็ก ที่มากับ
                  รถเข็นเด็ก คนพิการประเภทต่าง ๆ ไม่ว่า ตาบอด หูหนวก แขนขาร่างกายพิการ คนพิการทางปัญญา

                  ทางจิต คนที่อ่านหนังสือไม่ออก ฯลฯ ถึงแม้บุคคลเหล่านั้น จะมีข้อจำกัดทางร่างกาย ทางปัญญา
                  ทางจิตใจ แต่ก็เป็นบุคคล ในสังคม สังคมจึงควรรับผิดชอบดูแล ให้สามารถอยู่ในสังคมร่วมกับบุคคล
                  ทั่วไป ได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพของแต่ละคน เช่น การจัดให้มีทางลาดขึ้นลงทางเท้า และอาคารสถานที่
                  สาธารณะต่าง ๆ ให้กับผู้พิการที่ใช้รถเข็น หรือบล็อกพื้นนำทางเดินสำหรับคนตาบอด ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวก

                  เขาสามารถใช้ชีวิตทำกิจกรรมภายนอกบ้านได้โดยสะดวกและปลอดภัย (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ
                  สร้างเสริมสุขภาพ, 2554) องค์ประกอบและหลักการของ UD ประกอบด้วย 1) fairness ความเสมอ
                  ภาคใช้งาน ทุกคนในสังคมสามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ เช่นการ
                  ติดตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะ 2 ระดับ 2) flexibility มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน คือสามารถใช้ได้กับผู้ที่

                  ถนัดซ้ายและขวา หรือปรับสภาพความสูงต่ำขึ้นลงได้ตาม ความสูงของผู้ใช้ 3) simplicity มีความเรียบ
                  ง่ายและเข้าใจได้ดี เช่น มีภาพหรือคำอธิบายที่เรียบง่ายสำหรับคนทุกประเภท ไม่ว่าจะมีความรู้ระดับ
                  ไหนอ่านหนังสือออกหรือไม่ อ่านภาษาต่างประเทศได้หรือไม่ หรืออาจใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์สากล
                  สื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย ฯลฯ 4) understanding มีข้อมูลพอเพียง และสำหรับการใช้งาน 5) safety

                  มีความทนทานต่อการใช้งานที่ผิดพลาด เช่น มีระบบป้องกันอันตรายหากมีการใช้ผิดพลาด รวมทั้งไม่
                  เสียหายได้โดยง่าย 6) energy conservation ทุ่นแรง เช่น ใช้ที่เปิดก๊อกน้ำแบบยกขึ้น-กดลง แทนการ
                  ใช้มือขันก๊อกแบบเป็นเกลียว เป็นต้น และ 7) space มีขนาดและสถานที่ที่เหมาะสม สามารถใช้งานเผื่อ

                  สำหรับคนร่างกายใหญ่โต คนที่เคลื่อนไหวร่างกายยาก เช่น คนพิการที่มีรถเข็นคันใหญ่ต้องมีพื้นที่
                  สำหรับหมุนรถกลับไปมาในบริเวณห้องน้ำ แนวคิดนี้สามารถทำได้ ฝ่ายหลักต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมมือ
                  ร่วมใจที่จะดำเนินการ ได้แก่ 1) ภาครัฐ และองค์กรท้องถิ่น ที่ต้องดูแลและสนับสนุนให้มีการจัดสร้าง
                  ก่อสร้างในระดับต่าง ๆ ให้ความสนใจและตระหนักว่าจะต้องดูแลสมาชิกทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน
                  2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ สถาปนิก วิศวกร และผู้รับผิดชอบด้านการก่อสร้าง รวมทั้ง ผู้ผลิตใน

                  ฐานะผู้ออกแบบวางแผนในเชิงรายละเอียดที่ต้องใช้ความรู้ทักษะพิเศษในการสร้างและออกแบบที่
                  ครอบคลุมถึงมวลชนทุกคน และ 3) ผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้มีขีดจำกัดต่าง ๆ ในฐานะผู้ใช้บริการจะต้อง
                  ช่วยเสนอแนะ วิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้มีการปรับปรุงพัฒนาและสอดคล้องสะดวกแก่การใช้งานได้เป็น

                  อย่างดี
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218