Page 209 - Chumphon
P. 209

5-27





                  วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง สำหรับภาคเกษตร 4.0 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบาย

                  ดังนี้
                                      (1)  ส่งเสริมเกษตรกรให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
                                      (2)  เพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ

                                      (3)  คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมรวมถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย
                                      (4)  แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
                                      (5)  พัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบที่มีอยู่ให้ทันสมัย
                                      (6)  เน้นทำปศุสัตว์แปลงใหญ่ให้ความสำคัญกับอาหารสุขภาพ
                                      (7)  เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

                                      (8)  ปรับการผลิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                      (9)  เน้นทำวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น
                                      (10) บูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อให้

                  ครอบคลุมทุกมิติ
                                  15)  เกษตรกรควรรวมกลุ่มกันเขียนโครงการเสนอแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากร
                  หรือปรับปรุงการแปรรูปผลผลิตสามารถดำเนินการผ่านกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หรือกองทุน
                  ประชารัฐ เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือคนจนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

                                  16)  ป่าไม้ครอบครัว เป็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบน
                  ฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community-Based Management) เป็นระบบการจัดการที่มีส่วน
                  สำคัญในการรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มีนวัตกรรมทางสังคม (Social innovation)
                  ในภาคประชาชน “การจัดการป่า" เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                  เพื่อสร้างป่า สร้างแหล่งอาหาร และสร้างเศรษฐกิจชุมชน แนวคิดการปลูกป่านอกป่า หรือการยกป่ามา
                  ไว้ในบ้าน จึงเป็นนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเรื่องใหม่ที่อยู่บนฐาน
                  คิดที่ว่า ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม และมีบทบาทสำคัญที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงต่อ
                  เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สิ่งใดๆ ที่สมาชิกในครอบครัวทำไปเพื่อครอบครัว ที่สมาชิกของ

                  ครอบครัวเห็นว่าคือ ทางออกในการแก้ปัญหา เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และเศรษฐกิจให้กับ
                  ครอบครัว ความเข้มแข็งของครอบครัว คือความเข้มแข็งของสังคม ดังนั้น ป่าไม้ครอบครัว
                  เป็นนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญยิ่ง

                            5.2.2.3  พื้นที่แหล่งน้ำ น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืชคนเรามีชีวิตอยู่โดย
                  ขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรม รักษาระบบนิเวศทางน้ำ และ
                  อุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
                                    1) หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ดังนี้
                                        (1) การจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ (Availability of water resource)

                  การจัดหาแหล่งน้ำและการเก็บกักน้ำ (Reservoir) การสร้างอ่างเก็บน้ำที่เหมาะสมเพื่อกักเก็บน้ำผิวดิน
                  (Surface water) การสร้างฝายหรือระบบจัดเก็บน้ำอื่น ๆ เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำ
                                        (2) แหล่งน้ำจากกิจกรรมทางการเกษตร การลดอัตราการกร่อนของดิน

                  การลดการใช้สารเคมี เช่นปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชสามารถช่วยลดการปนเปื้อนของสารเคมีเหล่านี้ใน
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214