Page 204 - Chumphon
P. 204

5-22





                  5.2  สรุปและข้อเสนอแนะ

                      5.2.1 สรุป
                        การกำหนดแผนการใช้ที่ดินจังหวัดชุมพร ได้ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลอรรถาธิบายที่สำคัญคือ
                  ฐานข้อมูลดิน ความเหมาะสมของที่ดิน การใช้ที่ดิน ทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ นโยบาย กฎหมาย ยุทธศาสตร์

                  การพัฒนาประเทศที่สำคัญ และตามศักยภาพกำลังผลิตของพื้นที่ สามารถกำหนดแผนการใช้ที่ดินของ
                  พื้นที่จังหวัดชุมพร ออกเป็น 7 เขต ประกอบด้วย
                        1) เขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายและป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรี มีเนื้อ 1,970,334 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 52.46 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร แบ่งเป็น 3 เขต ได้แก่ (1) เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีเนื้อที่ 1,366,124 ไร่
                  หรือร้อยละ 36.38 ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร (2) เขตป่าเศรษฐกิจ มีเนื้อที่ 464,952 ไร่ หรือร้อยละ 12.38

                  ของพื้นที่จังหวัดชุมพร และ (3) เขตคงสภาพป่าไม้นอกเขตป่าตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี มีเนื้อที่
                  ประมาณ 139,258 ไร่ หรือร้อยละ 3.71 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร
                      2) เขตเกษตรกรรม มีเนื้อที่ 1,600,496 ไร่ หรือร้อยละ 42.62 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร แบ่งเป็น 3 เขต

                  ได้แก่ (1) เขตการเกษตรชั้นดี พื้นที่ของเขตนี้กำหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรมในพื้นที่ชลประทาน
                  และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) มีเนื้อที่ 34,481 ไร่ หรือร้อยละ 0.92
                  ของเนื้อที่จังหวัดชุมพร (2) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง มีเนื้อที่ 1,263,890 ไร่ หรือร้อยละ
                  33.66 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร (3) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตต่ำ มีเนื้อที่ 302,126 ไร่ หรือร้อยละ

                  8.04 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร
                      3) เขตชุมชน มีเนื้อที่ 79,864 ไร่ หรือร้อยละ 2.13 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร
                      4) เขตอุตสาหกรรมมีเนื้อที่ 14,365 ไร่ หรือร้อยละ 0.38  ของพื้นที่จังหวัดชุมพร
                      5) เขตแหล่งน้ำ มีเนื้อที่ 34,169 ไร่ หรือร้อยละ 0.90 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร

                      6) เขตพื้นที่เฉพาะ มีเนื้อที่ 17,888 ไร่ หรือร้อยละ 0.48 ของพื้นที่จังหวัดชุมพร
                      7) เขตพื้นที่เบ็ดเตล็ด มีเนื้อที่ 38,512 ไร่ หรือร้อยละ 1.03ของพื้นที่จังหวัดชุมพร
                      5.2.2 -ข้อเสนอแนะ
                          ข้อเสนอแนะเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนา

                            จากการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ ทำให้สามารถนำมาสร้างเป็นกลยุทธ์เพื่อเป็น
                  แนวทางในการกำหนดแผนพัฒนาต่อไป กลยุทธ์ที่สร้างขึ้นจากการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่เป็น
                  ตัวอย่างได้พอสังเขป ในการบริหารจัดการพื้นที่ตามสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยแบ่งพื้นที่ป่าไม้

                  พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่แหล่งน้ำ พื้นที่เมืองและชุมชน พื้นที่อุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการดูแล
                  สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างเหมาะสมและเกิดดุลยภาพ ดังนี้
                            5.2.2.1  พื้นที่ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม
                                  1) การอนุรักษ์ป่าไม้ มีความสำคัญอยู่ 4 ประการต่อระบบนิเวศน์
                  สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และลดสภาวะโลกร้อน คือ (ก) เพื่อธำรงไว้ซึ่งปัจจัยสำคัญของ

                  ระบบสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสัตว์ และระบบสนับสนุนการดำรงชีวิต เป็นการปรับปรุง
                  ป้องกันพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก การหมุนเวียนแร่ธาตุอาหารพืช ตลอดจนการทำน้ำให้สะอาด (ข) เพื่อสงวน
                  รักษาการกระจายของชาติพันธุ์ ซึ่งขึ้นกับโครงการขยายพันธุ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการปรับปรุงการป้องกัน

                  ธัญญาพืช สัตว์เลี้ยง และจุลินทรีย์ต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีตลอดจนการ
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209