Page 206 - Chumphon
P. 206

5-24





                  เต็ง รัง พะยอม ตะเทียนทอง ตะเทียนหิน ตะเทียนชันตาแมว ไม้สกุลยาง สะเดา สะเดาเทียน ตะกู

                  ยมหิน ยมหอม นางพญาเสือโคร่ง นนทรี สัตบรรณ ตีนเป็ดทะเล พฤกษ์ ปีบ ตะแบกนา เสลา
                  อินทนิลน้ำ ตะแบกเลือด นากบุด ไม้สกุลจำปี แคนา กัลปพฤกษ์ ราชพฤกษ์ สุพรรณิการ์ เหลืองปรีดี
                  ยาธร มะหาด มะขามป้อม หว้า จามจุรี พลับพลา กันเกรา กะทังใบใหญ่ หลุมพอ กฤษณา ไม้หอม

                  เทพทาโร ฝาง ไผ่ทุกชนิด ไม้สกุลมะม่วง ไม้สกุลทุเรียน และมะขาม (สำนักส่งเสริมการปลูกป่า, 2562)
                            5.2.2.2  พื้นที่เกษตรกรรม การใช้และอนุรักษ์พื้นที่เกษตร ที่เกษตรกรใช้ผลิตพืชผล
                  และให้เกษตรกรมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และอนุรักษ์
                  ความหลากหลายทางชีวภาพ พืชสมุนไพร ระบบนิเวศดินให้สมบูรณ์ ดังนี้
                                  1) ปรับปรุงทรัพยากรดินเพื่อการเกษตร โดยการเพิ่มการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น

                  ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ
                  และส่งเสริมการทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553ก)
                                  2) ส่งเสริมให้มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์

                  ของดิน เช่น การไม่เผาตอซัง การปลูกหญ้าแฝก และทำแนวคันดิน ในการชะลอเก็บกักน้ำโดยเฉพาะ
                  ในพื้นที่มีความลาดชันสูง (กรมพัฒนาที่ดิน)
                                  3) สร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานให้มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง
                  ในช่วงเวลาฝนทิ้งช่วงและใช้ช่วยระบายน้ำเป็นแก้มลิงในช่วงเวลาฝนตกหนัก รวมทั้งขุดลอกแหล่งน้ำ

                  สาธารณะ เพื่อเตรียมเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
                                  4) ให้ความรู้แก่เกษตรกรในการใช้น้ำเพื่อการเกษตรให้เกิดประโยชน์
                  สูงสุดและมีการวางแผนการเพาะปลูกพืชให้สอดคล้องกับน้ำต้นทุน
                                  5) เกษตรกรควรรวมกลุ่มกันพัฒนาสินค้าเกษตรให้ได้ใบรับรองสิ่งบ่งชี้ทาง

                  ภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) เพื่อมูลค่าสินค้าเกษตร สินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทาง
                  ภูมิศาสตร์มักจะเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม เนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษหรือมีลักษณะ
                  เฉพาะที่เกิดจากอิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น สภาพแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ ของแหล่ง
                  ภูมิศาสตร์นั้น ๆ ตลอดจนทักษะความชำนาญและภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์นั้น ๆ

                  ประกอบด้วย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างจากทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น กล่าวคือ
                  ผู้เป็นเจ้าของไม่ใช่บุคคลหนึ่งบุคคลใดแต่เป็นกลุ่มชุมชนที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในพื้นที่ทาง
                  ภูมิศาสตร์นั้น ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิตที่อาศัยอยู่ในสถานที่หรือแหล่งภูมิศาสตร์ และผู้ประกอบการ

                  เกี่ยวกับสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นเท่านั้น ที่มีสิทธิผลิตสินค้าดังกล่าวโดยใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์
                  นั้นได้ ผู้ผลิตคนอื่นที่อยู่นอกแหล่งภูมิศาสตร์จะไม่สามารถผลิต สินค้าโดยใช้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์เดียวกัน
                  มาแข่งขันได้ สิทธิในลักษณะดังกล่าวนี้นักวิชาการบางท่านเรียกว่า “สิทธิชุมชน” ซึ่งไม่สามารถนำสิทธิที่
                  ได้รับไปอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ต่อได้ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่แหล่งภูมิศาสตร์เท่านั้นที่มีสิทธิใช้ สิ่งบ่งชี้ทาง
                  ภูมิศาสตร์นี้ อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2559)

                                    (1) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยตรง (Direct Geographical Indication)
                  กล่าวคือ เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้น ๆ โดยตรง เช่น ไชยา เพชรบูรณ์ เป็นต้น
                                    (2) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยอ้อม (Indirect Geographical Indication)

                  กล่าวคือ เป็นสัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ไม่ใช่ชื่อทางภูมิศาสตร์ ซึ่งใช้เพื่อบ่งบอกแหล่งภูมิศาสตร์อันเป็น
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211