Page 211 - Chumphon
P. 211

5-29





                  เปลี่ยนสีและอาจมีคุณสมบัติกัดกร่อนเนื่องจากการตกค้างของสารเคมีจากการบำบัด จึงต้องมีการ

                  ทดสอบความใสของน้ำ แบคทีเรียในน้ำ และระดับคลอรีน สามารถนำน้ำนี้มาใช้อุปโภค เช่น รดต้นไม้
                  น้ำล้างรถ หรือน้ำสำหรับชักโครกสุขภัณฑ์
                                    3) การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียจากโรงงาน

                  อุตสาหกรรมเป็นน้ำเสียที่มีสิ่งสกปรกและสารปนเปื้อนในปริมาณที่มากกว่าน้ำเสียจากแหล่งชุมชน ทั้งนี้
                  สิ่งสกปรก และสารปนเปื้อนดังกล่าวจะแตกต่างกันไปตามประเภทธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ
                  ซึ่งการบำบัดด้วยกรรมวิธีทางชีวภาพเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ เนื่องจากสารเคมีและสารละลายไม่
                  สามารถกำจัดให้หมดไปด้วยกรรมวิธีดังกล่าวได้ ดังนั้น ระบบการบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงาน
                  อุตสาหกรรมจึงต้องอาศัยวิธีการทางเคมีที่มีความยุ่งยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยจำเป็นต้องอาศัย

                  กรรมวิธีการบำบัดทางกายภาพและการกำจัดตะกอน
                                    4) การประกาศใช้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ในราชกิจจา
                  นุเบกษา เล่มที่ 135 ตอน 112ก เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม  2561 รัฐควรมีนโยบาย ช่วยเหลือเกษตรกร คือ

                  ในเขตชลประทานและ เขตเกษตรยังชีพ เกษตรกรที่มีพื้นที่ถือครองมากว่าหรือเท่ากับ 10 ไร่
                  รัฐควรสนับสนุนบ่อน้ำในไร่นาของกรมพัฒนาที่ดิน ทุกครัวเรือนเพื่อลดความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำ
                  และฝนทิ้งช่วง เป็นพื้นที่รับน้ำท่วม/แก้มลิงได้ และควรชดเชยค่าเสียหายจากบริหารภาครัฐให้เหมะสม
                            5.2.2.4  พื้นที่เมือง และชุมชนเมืองน่าอยู่

                                         1) การพัฒนาเมืองน่าอยู่ ในปัจจุบันเมืองน่าอยู่มีความหมายกว้าง คือ
                  เป็นเมืองที่มีผู้บริหารระดับสูงและ ชุมชนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่จะ
                  ก่อให้เกิดผลดีต่อชุมชนในอนาคต สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2546)
                  ได้กำหนดกรอบความคิดในการพัฒนาเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                  โดยกำหนดให้เมืองน่าอยู่หรือ ชุมชนน่าอยู่มีลักษณะสำคัญ 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านสังคม
                  (2) ด้านเศรษฐกิจ (3) ด้านกายภาพ (4) ด้านสิ่งแวดล้อม (5) ด้านการบริหารและการจัดการ ซึ่งจะทำ
                  ให้ทุกคนในเมืองมีสุขภาพอนามัยที่ดีมีสิ่งแวดล้อม สังคมที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี องค์การอนามัยโลก
                  (World Health Organization) ได้กำหนดลักษณะของเมืองน่าอยู่ไว้ 11 ประการ คือ

                                            (1) การรักษาความสะอาดด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ
                  รวมทั้งคุณภาพของที่อยู่ อาศัย
                                            (2) ระบบนิเวศที่ยึดโยงการอยู่ร่วมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่

                  สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลย์อย่างยั่งยืนนาน
                                            (3) ชุมชนมีความเกื้อกูลและไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน
                                            (4) ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกำหนดควบคุมและ
                  ตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตสุขภาพอนามัยและการกินดีอยู่ดี
                                            (5) การตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (อาหาร น้ำ ที่พักอาศัย รายได้

                  ความปลอดภัยและการมีงานทำ
                                            (6) มีกลไกการระดมความคิด ประสบการณ์และทรัพยากรอัน
                  หลากหลายจากการประสานงาน การติดต่อและการทำงานร่วมกับชุมชน
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216