Page 212 - Chumphon
P. 212

5-30





                                            (7) เป็นเมืองที่มีระบบเศรษฐกิจที่หลากหลาย มีชีวิตชีวาและมีนวัตกรรม

                  อยู่เสมอ
                                            (8) เสริมสร้างการเชื่อมโยงมรดกทางวัฒนธรรม สภาพทางชีวภาพอันดีงาม
                  รวมทั้งเอกลักษณ์ของกลุ่มชนในชุมชนของแต่ละชุมชน

                                            (9) ให้มีรูปแบบการดำเนินงานที่สามารถขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายโดย
                  ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                                            (10) มีระบบการให้บริการดูแลความเจ็บป่วยที่เหมาะสมสำหรับ
                  ประชาชนทุกคน
                                            (11) มีสภาวะสุขภาพของประชาชนในระดับดีมาก คือ มีสุขภาพอนามัย

                  ในระดับสูง และมีอัตราการเจ็บป่วยในระดับต่ำ
                                         2) การพัฒนาเมืองใหม่อย่างยังยืน อันเป็นแนวนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ที่มี
                  ความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาพื้นที่เมืองเพราะการพัฒนาในแนวทางนี้จะต้องมีการดำเนินงานที่ประสาน

                  และสนับสนุนสอดคล้องซึ่งกันและกันในหลาย ๆ ด้านและหลายสาขาพร้อม ๆ กันอย่างมีระบบเป็นเชิง
                  องค์รวม (Holistic Approach) คือกระบวนการพัฒนาที่มีการวางกรอบวิสัยทัศน์ และแนวทางพัฒนาที่
                  สอดคล้องต้องกันทั้งในด้านประชากรทรัพยากร สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ
                  ทางกายภาพที่สร้างขึ้น(Built Environment) ทรัพยากรด้านศิลปวัฒนธรรม ความรู้และวิทยากร

                  สมัยใหม่ จากแนวความคิดและองค์ประกอบในการสร้างเมืองให้น่าอยู่ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นหลายฝ่ายก็
                  มักเกิดคำถามตามมาว่า ในเมื่อมีแนวทางแล้ว ทำอย่างไรถึงจะสามารถสร้างความน่าอยู่ให้เกิดขึ้นกับ
                  เมืองได้ (กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2554) การจัดทำผังเมือง ที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
                  ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ความปลอดภัย สวัสดิภาพของสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจน

                  การดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่ที่มีคุณค่าทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
                                       3) เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่
                  เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว (Disruptive Technology) ส่งผลกระทบต่อไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตของ
                  ผู้คนในสังคม ก่อให้เกิดแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมใน

                  การวางโครงสร้างพื้นฐานระบบงานบริการสาธารณะเพื่อเพิ่มศักยภาพให้เมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                  ตอบสนองความต้องการของคนทุกเพศทุกวัยได้อย่างตรงจุด ซึ่งนั่นหมายถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
                  คนในสังคมเมืองให้ดีขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าผู้บริหารเมืองในยุคนี้ต่างนำแนวคิดการสร้างเมือง

                  อัจฉริยะ (Smart City) มาพัฒนา และวางแผนเมืองให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ องค์ประกอบของ
                  เมืองอัจฉริยะ (Smart City) แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ (1) เทคโนโลยีดิจิทัล ถูกนำมาปรับใช้กับเมือง
                  เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการสาธารณะผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data เช่น การวิเคราะห์
                  ข้อมูลความแออัดของการจราจรบนท้องถนนเพื่อให้เราสามารถวางแผนการเดินทางได้ การพัฒนาด้าน
                  เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงระบบดูแลสุขภาพโดยที่ตัวเองยังอยู่ที่บ้าน เป็นต้น

                  (2) ประชาชน ผู้คนที่มีความเกี่ยวข้องกับเมืองคือหัวใจหลักในการออกแบบ และวางแผนพัฒนาเมือง
                  (User-Centered Design) ผ่านการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดรับกับรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มี
                  การเปลี่ยนแปลงไปอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการได้ผู้บริหารเมืองที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างเมือง
   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217