Page 207 - Chumphon
P. 207

5-25





                  แหล่งกำเนิดหรือแหล่งผลิตของสินค้า เช่น สัญลักษณ์ประจำอำเภอ หรือจังหวัดเช่น รูปย่าโม รูปหอไอเฟล

                  เป็นต้น โอกาสการผลิตสินค้า GI สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พบว่า
                  ปัจจุบันสินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือสินค้าจีไอ (GI) กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
                  ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศเนื่องจากผู้บริโภคให้ความสนใจในแหล่งที่มาของสินค้า รวมถึงเรื่องราว

                  ประวัติความเป็นมาของสินค้า โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป (EU) มีความต้องการสินค้า GI ค่อนข้างสูง
                  และมีแนวโน้มสดใส
                                  6) ส่งเสริมให้เกษตรกร ทำเกษตรอินทรีย์ให้ได้ใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                  เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) คือ ระบบการจัดการด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อ
                  ระบบนิเวศ วงจรชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยง

                  วัตถุดิบที่ได้จากการสังเคราะห์ และไม่ใช้พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากการดัดแปรพันธุกรรม
                  (Genetic Modification) หรือ พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์
                  โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์ และคุณภาพที่สำคัญ

                  ของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน กระบวนการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละหน่วยตรวจ
                  รับรองเกษตรอินทรีย์อาจแตกต่างกันออกไป ซึ่งหน่วยตรวจรับรองจะมีเอกสารชี้แจงรายละเอียดขั้นตอน
                  ตรวจรับรองของตัวเองให้ผู้สนใจได้รับทราบ ซึ่งผู้ผลิต-ผู้ประกอบการควรทำการศึกษาขั้นตอนเหล่านี้
                  อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจสมัคร นอกจากนี้ ผู้ผลิต-ผู้ประกอบการควรศึกษาเปรียบเทียบหน่วยตรวจ

                  รับรอง 2-3 แห่ง เพื่อพิจารณาดูรายละเอียดของข้อกำหนดมาตรฐาน ค่าใช้จ่าย ความรวดเร็ว
                  คุณภาพของการให้บริการ ตลอดจนความน่าเชื่อถือของหน่วยงานและการยอมรับผลการตรวจรับรอง
                  ของหน่วยงานนั้นโดยผู้ซื้อหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศ
                  (ในกรณีส่งออก) เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกหน่วยตรวจรับรอง

                                  7) นโยบายลดพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม โดยรัฐต้องมีนโยบายที่
                  ชัดเจนและต่อเนื่อง รวมทั้งมีนโยบายช่วยเหลือและส่งเสริมเพื่อจูงใจให้เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืช
                  อื่นที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าพืชเดิม
                                  8) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการให้มีการแปรรูปสินค้า และเพิ่มมูลค่าของสินค้า

                  เกษตร หรือเข้าร่วมโอทอป (OTOP: One Tambon One Product) “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์”
                  เป็นแนวทางประการหนึ่ง ที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคน
                  ในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ

                  มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาด
                  ทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีหลักการ พื้นฐาน 3 ประการ คือ (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local
                  Yet Global) (2) พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self-Reliance-Creativity) และ (3) การสร้าง
                  ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) การพัฒนาเพื่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ OTOP
                  นับเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่งที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขีด

                  ความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก ด้วยการอาศัยการพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศและ
                  ต่างประเทศควบคู่กันด้วย (กรมการพัฒนาชุมชน, 2544)
                                  9) ส่งเสริมให้มีตลาดกลางทุกตำบลหรือทุกอำเภอ เพื่อรวบรวมสินค้าเกษตร

                  โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มอย่างเป็นทางการ เพื่อศูนย์แลกเปลี่ยน
   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212