Page 205 - Chumphon
P. 205

5-23





                  คุ้มครองอุตสาหกรรม นานาชาติที่ใช้ทรัพยากรที่มีชีวิตเป็นวัตถุดิบ (ค) เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้

                  พันธุ์พืชสัตว์และระบบนิเวศเพื่อประโยชน์ในการยังชีพตามความเหมาะสม และ (ง) เพื่อสงวนรักษา
                  โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าไว้ไปยังอนุชนรุ่นหลังรวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
                  ที่มนุษย์สร้างขึ้น การบำรุงรักษาป่า ควรปฏิบัติ ดังนี้ (กรมป่าไม้, 2560)

                                    (1) ป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
                                    (2) หาแหล่งทำมาหากินให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักแหล่ง เพื่อเป็นการ
                  ป้องกันการทำไร่เลื่อนลอย
                                    (3) ส่งเสริมการปลูกป่าทดแทน
                                    (4) ปิดป่าไม่อนุญาตให้มีการทำไม้

                                    (5) ใช้วัตถุอื่นทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้
                                    (6) ตั้งหน่วยป้องกันไฟป่า
                                    (7) ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจแก่ประชาชน

                  เพื่อให้เห็นความสำคัญของป่าไม้
                                  2) การเพิ่มกำลังการผลิตป่าไม้ในแง่เศรษฐกิจ
                                    ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต
                  ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ

                  อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค การเพิ่มกำลังการผลิต (productivity) ของป่าไม้
                  โดยให้เกษตรกรผลิตพืช หรือสัตว์เศรษฐกิจและต้องอาศัยการบริการของระบบนิเวศ สามารถผลิตใน
                  รูปเกษตรอินทรีย์ หรือวนเกษตร ที่มีผลตอบแทนคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงประกอบด้วยการผลิตพืช เช่น
                  กาแฟ โกโก้ การผลิตกล้วยไม้สกุลวานิลลา เพาะเห็ด พืชสุมนไพร การปศุสัตว์ เช่นการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า

                  การเลี้ยงชะมดกินกาแฟ นำมาทำผลิตภัณฑ์กาแฟขี้ชะมด การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น เพาะเลี้ยง
                  ปลาสเตอร์เจียน เป็นต้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับการดูแลและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และเสถียรภาพ
                  การผลิตภาคป่าไม้ในอนาคต
                                  3) พัฒนาสัตว์ป่ามาเลี้ยงเสริมรายได้ป้องการสูญพันธุ์

                                    ทรัพยากรจากฐานชีวภาพในประเทศไทยมีความหลากหลายมาก
                  แต่เกษตรกรไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ รัฐควรส่งเสริมและพัฒนาสัตว์ป่ามาเลี้ยง
                  เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้แล้ว ยังช่วยให้สัตว์ป่าในธรรมชาติไม่สูญพันธุ์

                  และการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าในกรงเชิงพาณิชย์ ยังส่งผลดีต่อระบบนิเวศ เช่นกวาง นกปากขอ และไก่ฟ้า เป็นต้น
                                  4) ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ
                                    รัฐบาลมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกไม้มีค่า เพิ่มพื้นที่ป่า 26 ล้านไร่
                  สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางไทยนิยม ยั่งยืน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
                  ฐานราก ส่งเสริมให้ปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือที่ดินที่ มีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์

                  โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
                  โดยขณะนี้มีการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จะก่อให้เกิด
                  ชุมชนไม้มีค่าเพื่อเกษตรกร สำหรับไม้ทางเศรษฐกิจ มีทั้งหมด 58 ชนิด ประกอบด้วย ไม้สัก พะยูง

                  ชิงชัน กระซิก กระพี้เขาควาย สาธร แดง ประดู่ป่า ประดู่บ้าน มะค่าโมง มะค่าแต้ เคี่ยม เคี่ยมคะนอง
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210