Page 106 - Nongbualamphu
P. 106

5-8





                                      -  เขตปลูกมะขาม เนื้อที่ 584 ไร่ (ร้อยละ 0.02 ของเนื้อที่จังหวัด)

                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ การปลูกพืชคลุมดินโดยเลือกพืชที่มี

                  ระบบใบหนาแน่นหรือมีระบบรากแน่นและแพร่กระจายคลุมและยึดดิน ระบบการอนุรักษ์ดินและน้ า
                  การรักษาสิ่งแวดล้อมโดยรอบให้อยู่ในสภาพดี เพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตส่งเสริมการรวมตัว

                  เกษตรกรในระบบสหกรณ์ ลดการแข่งขันกันเองในกลุ่มเกษตรกร พัฒนาระบบโลจิสติกส์การคมนาคม

                  เพื่อรองรับผลผลิต การขนส่ง การตลาดและราคาให้สามารถแข่งขันเพื่อการส่งออกในต่างประเทศได้
                             3) เขตพื้นที่เกษตรกรรมมีศักยภาพในการผลิตต่ า

                               เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพในการผลิตต่ า เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทานจึงต้องอาศัย
                  น้ าฝนและแหล่งน้ าในไร่นานอกเขตชลประทานเพื่อท าการเกษตร ความเหมาะสมที่ดินและศักยภาพการ

                  ผลิตอยู่ในระดับน้อย (S3) และปานกลาง (S2) เขตนี้มีความส าคัญในการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศ

                  ได้แก่ ข้าว พืชไร่ ปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้น มีเนื้อที่รวม 730,239 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.28 ของเนื้อที่
                  จังหวัด เนื่องจากเป็นเขตที่มีข้อจ ากัดของสภาพที่ดินซึ่งครอบคลุมเนื้อที่จ านวนมาก หากได้รับการปรับปรุง

                  ฟื้นฟู ดูแล และพัฒนาอย่างเหมาะสม จะเป็นเขตที่สามารถสร้างอาชีพและรายได้แก่เกษตรกรน ารายได้
                  เข้าจังหวัดได้อีกมาก รายละเอียดดังนี้

                                3.1)  เขตพื้นที่เร่งรัดส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิต (สัญลักษณ์แผนที่ 231)

                                      เขตพื้นที่เร่งรัดส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิต เนื้อที่ 725,967 ไร่ (ร้อยละ
                  30.10 ของเนื้อที่จังหวัด) สมบัติของที่ดินเขตนี้มีศักยภาพการผลิตทั้งในระดับเล็กน้อย (S3) จนถึงไม่มี

                  ความเหมาะสม (N) พบข้อจ ากัดการใช้ประโยชน์ที่ดินหลายประการตั้งแต่โครงสร้างดิน สมบัติทางกายภาพ

                  และลักษณะดิน เช่น ลักษณะเป็นดินทราย ดินตื้นถึงชั้นหิน ดินชั้นลูกรัง ซึ่งมีปัญหาการสูญเสียดินที่รุนแรง
                  ขาดความสามารถการยึดเหนี่ยวเมื่อเกิดภัยพิบัติธรรมชาติจากน้ าหรือพายุ ลม จะมีความเสี่ยงต่อการชะล้าง

                  พังทลายของหน้าดิน ท าให้ดินสูญเสียธาตุอาหารและความอุดมสมบูรณ์ การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร
                  จะต้องมีการปรับปรุงทั้งโดยวิธีพืชและวิธีกล ซึ่งต้องใช้เวลาและเงินทุนสูง อาจไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

                  สามารถจ าแนกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้

                                      -  กลุ่มนาข้าว เนื้อที่ 394,285 ไร่ (ร้อยละ 16.35 ของเนื้อที่จังหวัด)
                                      -  กลุ่มพืชไร่ เนื้อที่ 272,062 ไร่ (ร้อยละ 11.28 ของเนื้อที่จังหวัด)

                                      -  กลุ่มไม้ผล เนื้อที่ 6,385 ไร่ (ร้อยละ 0.26 ของเนื้อที่จังหวัด)
                                      -  กลุ่มไม้ยืนต้น เนื้อที่ 53,235 ไร่ (ร้อยละ 2.21 ของเนื้อที่จังหวัด)

                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน โดยการใส่

                  ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเคมี เศษพืช หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด เลือกชนิดพืชที่ปลูกให้เหมาะสมกับสภาพดิน
                  มีการเขตกรรมด้วยวิธีที่เหมาะสม ไถพรวนให้น้อยเพื่อป้องกันชะล้างพังทลายของดิน ควรปลูกไม้ใช้สอย
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111