Page 101 - Nongbualamphu
P. 101

5-3





                        5.1.1 เขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายและป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรี

                            ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561–2580) และนโยบายป่าไม้แห่งชาติ พ.ศ. 2528

                  ก าหนดเป้าหมายการรักษาพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ สัดส่วนร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ เพื่อประโยชน์
                  2 ประการ คือ (1) ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (Conservation Zone: C) ก าหนดไว้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดิน น้ า

                  พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่หายากและป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิด จากน้ าท่วมและการพังทลายของดินตลอดทั้ง

                  เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย และนันทนาการของประชาชนใน สัดส่วนร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ
                  และ (2) ป่าเพื่อเศรษฐกิจ (Economic Zone: E) ก าหนดไว้เพื่อการผลิตไม้และของป่าเพื่อประโยชน์

                  ในทางเศรษฐกิจในสัดส่วนร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ
                            เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ประกอบด้วยพื้นที่ป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ซึ่งก าหนดขึ้นตามบทบัญญัติ

                  แห่งพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ (1) ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย ได้แก่

                  อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (2) ป่าเพื่อการอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี
                  เป็นป่าที่คณะรัฐมนตรีก าหนดให้เป็นพื้นที่ต้นน้ าชั้น 1 ป่าชายเลนเขตอนุรักษ์ และป่าที่คณะรัฐมนตรี

                  ก าหนดให้เป็นป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม และ (3) ป่าเพื่อการอนุรักษ์ตามนโยบาย ได้แก่ พื้นที่ป่าที่กรมป่าไม้จัด
                  ให้เป็นวนอุทยานแห่งชาติ สวนรุกขชาติ และสวนพฤษศาสตร์ เป็นต้น การเข้าท าประโยชน์ในเขตป่า

                  จะต้องท าการขออนุญาต ตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตท าประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558

                  ตามมาตรา 54 วรรคสอง และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484
                            ส าหรับการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ า มีหลักเกณฑ์การพิจารณาพื้นที่ทางกายภาพ 6 ปัจจัย คือ

                  สภาพภูมิประเทศ ระดับความลาดชัน ความสูงจากระดับทะเล ลักษณะทางธรณีวิทยา ลักษณะปฐพีวิทยา

                  และสภาพป่าที่เหลืออยุ๋ในปัจจุบัน แบ่งลุ่มน้ าออกเป็น 5 ระดับชั้น ดังนี้ (1) พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 คือพื้นที่
                  ภายในลุ่มน้ าที่ควรจะต้องสงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ าล าธาร โดยเฉพาะเนื่องจากมีลักษณะและ

                  คุณสมบัติที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ง่ายและรุนแรง ไม่ว่าพื้นที่นั้น
                  จะมีป่าหรือไม่มีป่าปกคลุมก็ตาม ซึ่งในพื้นที่นี่มิควรมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่ท าลายสภาพธรรมชาติที่มีอยู่

                  การใช้ที่ดิน หรือพัฒนาที่ดินที่มีอยู่ จึงต้องมีมาตรการควบคุมเป็นพิเศษ (2) พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 2 คือพื้นที่

                  ภายในลุ่มน้ าซึ่งโดยลักษณะทั่วไปมีคุณภาพเหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ า ล าธาร ในระดับรองลงมา และ
                  สามารถน ามาใช้ประโยขน์ได้ ในการปลูกพืขเพื่อการเกษตรกรรม ท าไร่ (3) พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 3 คือพื้นที่

                  ภายในลุ่มน้ าซึ่งโดยทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้ ในการปลูกพืชเพื่อการเกษตรกรรมปลูกไม้ยืนต้น (4)
                  พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 4 คือพื้นที่ภายในลุ่มน้ าซึ่งสภาพป่าได้ถูกบุกรุกท าลายเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม ท าไร่

                  และ (5) พื้นที่ลุ่มชั้นที่ 5 คือพื้นที่ภายในลุ่มน้ าซึ่งมีลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่ราบหรือที่ลุ่มหรือเนินเอียงเล็กน้อย

                  และส่วนใหญ่ป่าได้ถูกท าลายเพื่อประโยชน์ด้านเกษตรกรรมไปหมดแล้ว
                            ข้อก าหนดด้านป่าไม้และการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ าข้างต้น ใช้ประกอบการก าหนดเขตการ

                  ใช้ที่ดินจังหวัดหนองบัวล าภู ดังนี้
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106