Page 102 - Nongbualamphu
P. 102

5-4





                            1) เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์

                              เป็นพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี ที่ส าคัญได้แก่ อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวน

                  แห่งชาติ ป่าไม้ถาวรนอกเขตป่าสงวน พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 และพื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 2 ที่ยังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์
                  เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ าล าธาร เป็นพื้นที่ควบคุมกิจกรรมการพัฒนาเพื่อการรักษาระบบนิเวศป่าไม้ที่เป็น

                  ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าตามธรรมชาติ ให้เป็นแหล่งสงวนพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ส าคัญประจ าถิ่น โดยมี

                  เนื้อที่รวม 321,465 ไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.42 ของเนื้อที่จังหวัด
                            2) เขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ

                              การขับเคลื่อนการปลูกป่าเศรษฐกิจถือเป็นกลไกการเพิ่มพื้นที่ป่าเพื่อบรรลุเป้าหมาย
                  ประเทศ ตลอดจนการยกระดับรายได้เกษตรกรผู้ปลูกไม้เศรษฐกิจ และเพื่อรองรับความต้องการใช้ไม้

                  ภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งด้านความต้องการใช้ไม้ในภาคครัวเรือนและใช้เป็นวัตถุดิบใน

                  อุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งจ าแนกเป็น 8 ประเภท ได้แก่ (1) อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ (2) อุตสาหกรรม
                  ชิ้นไม้สับ (3) อุตสาหกรรมแผ่นไม้ประกอบ (4) อุตสาหกรรมไม้แปรรูป (5) อุตสาหกรรมครัวเรือน (เช่น

                  เพาะเห็ด และผลิตปุ๋ย เป็นต้น) (6) ไม้เสาเข็ม (7) ไม้พลังงานส าหรับครัวเรือน และ (8) อุตสาหกรรมไม้
                  พลังงาน โดยแผนการใช้ที่ดินจังหวัดหนองบัวล าภู ก าหนดพื้นที่ส าหรับป่าเศรษฐกิจ 74,560 ไร่ คิดเป็น

                  สัดส่วนร้อยละ 3.09 ชองเนื้อที่จังหวัด

                        5.1.2 เขตพื้นที่เกษตรกรรม
                            เขตพื้นที่เกษตรกรรมพิจารณาจากพื้นที่เกษตรกรรมที่เกษตรกรได้รับสิทธิ์และมีเอกสารสิทธิ์

                  การถือครองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เป็นพื้นที่นอกเขตพื้นที่ป่าไม้ที่มีการประกาศตามกฎหมาย รวมถึง

                  พื้นที่ที่มีการปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิ์และการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามพระราชบัญญัติการ
                  ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) โดยรัฐน าที่ดินของรัฐหรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดิน

                  ซึ่งมิได้ท าประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิ์ จัดเป็นที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                  ให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเอง หรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ และสถาบัน

                  การเกษตรกรได้เช่าซื้อเช่าเขาท าประโยชน์ โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม

                  การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิตตลอดจนการผลิตและการจ าหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น
                  ครอบคลุมถึงพื้นที่ที่รัฐน ามาจัดสรรเป็นที่ดินท ากินภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)

                            เนื่องจากการเกษตรกรรมของไทยเป็นภาคการผลิตเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ส าคัญ
                  ของประเทศในหลายมิติ โดยเฉพาะการสร้างรากฐานและความมั่นคงทางอาหารของประเทศและของโลก

                  ประชากรไทยส่วนใหญ่ของประเทศจึงด ารงชีพอยู่ในภาคการผลิตทางการเกษตร ซึ่งการใช้ที่ดินเพื่อ

                  เกษตรกรรมประสบอุปสรรคปัญหาทั้งด้านกายภาพดิน ด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้านบริหารจัดการ
                  ที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ดังนั้น เพื่อด ารงรักษาศักยภาพการผลิตด้าน

                  การเกษตร ภาครัฐโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก าหนดเป้าหมายพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 10 ล้านไร่
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107