Page 105 - Nongbualamphu
P. 105

5-7





                                      เขตท านา เนื้อที่ 197,815ไร่ (ร้อยละ 8.20 ของเนื้อที่จังหวัด) เขตนี้มีศักยภาพ

                  การผลิตทั้งระดับสูง (S1) และระดับปานกลาง (S2) เป็นเขตเกษตรนอกระบบชลประทาน โดยพบข้อจ ากัด

                  การใช้ประโยชน์ที่ดินบางประการ ได้แก่ ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ความจุในการดูดยึดธาตุ
                  อาหาร ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร และสภาวะการหยั่งลึกของรากพืช ซึ่งสามารถปรับปรุงแก้ไขได้

                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

                  ได้แก่ ปุ๋ยคอก เศษพืช หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด เพื่อให้อินทรียวัตถุเป็นตัวดูดน้ าและธาตุอาหาร รวมทั้งช่วยให้
                  การยึดเกาะของดินดีขึ้น หากมีการใช้ปุ๋ยเคมีควรเลือกใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม โดยเลือกชนิดของแม่ปุ๋ย

                  หรือใช้ปุ๋ยนาที่จ าหน่ายทั่วไปในอัตราที่เหมาะสม โดยวิธีใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของข้าวที่ปลูกด้วย
                                2.2)  เขตพื้นที่พืชไร่ (สัญลักษณ์แผนที่ 222)

                                      เขตปลูกพืชไร่ เนื้อที่ 528,800 ไร่ (ร้อยละ 21.92 ของเนื้อที่จังหวัด) เขตนี้มีศักยภาพ

                  การผลิตทั้งระดับสูง (S1) และระดับปานกลาง (S2) พบข้อจ ากัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ความเสียหาย
                  จากการกัดกร่อน สภาวะการเขตกรรม ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร และความเป็นประโยชน์ของธาตุ

                  อาหาร สภาวะการหยั่งลึกของราก และความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช ซึ่งสามารถปรับปรุง
                  แก้ไขได้

                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ การปลูกพืชคลุมดินเพื่อช่วยให้ดิน

                  มีสิ่งรองรับการปะทะจากเม็ดฝน การพัดพาของน้ าฝนและกระแสลม ซึ่งจะช่วยลดความเร็วและการกระจาย
                  การไหลของน้ าที่ไหลบ่าบนผิวดิน ท าให้น้ าซึมลงไปในดินได้มากขึ้น รวมทั้ง การใช้วัสดุคลุมดินปกคลุม

                  ผิวหน้าดิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ เศษซากพืชหรือวัสดุเหลือใช้ในการเกษตร เช่น ฟางข้าว

                  ตอซังพืช แกลบ ขี้เถ้า ขี้เลื่อย ตลอดจนใบไม้ ใบหญ้าแฝก และหญ้าแห้ง น ามาคลุมโคนต้นและระหว่าง
                  แถวพืชที่ปลูก เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ าและเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน จากการย่อยสลายของวัสดุคลุม

                  ดินดังกล่าว
                                2.3)  เขตพื้นที่พืชเศรษฐกิจเพื่อการแข่งขัน (สัญลักษณ์แผนที่ 223)

                                      เขตพื้นที่พืชเศรษฐกิจเพื่อการแข่งขัน เป็นเขตพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวที่ปลูกใน

                  พื้นที่เหมาะสม เน้นการผลิตเพื่อส่งออกและการแข่งขันต่างประเทศ พื้นที่เขตนี้มีเนื้อที่ 125,213 ไร่
                  (ร้อยละ 5.19 ของเนื้อที่จังหวัด) ซึ่งมีการทับซ้อนกับพื้นที่ราชพัสดุประมาณ 1,697 ไร่ พื้นที่เขตนี้

                  กระจายอยู่ในเขตที่ดินไม่มีปัญหาทางการเกษตร ดินทรายจัดในพื้นที่ดอน จนถึงพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน
                  โดยพื้นที่มีแหล่งน้ าในไร่นาเพื่อสนับสนุนการเกษตร สามารถจ าแนกเป็นเขตย่อยได้ดังนี้

                                      -  เขตปลูกมะม่วง เนื้อที่ 4,056 ไร่ (ร้อยละ 0.17 ของเนื้อที่จังหวัด)

                                      -  เขตปลูกล าไย เนื้อที่ 778 ไร่ (ร้อยละ 0.03 ของเนื้อที่จังหวัด)
                                      -  เขตปลูกพืชผัก เนื้อที่ 345 ไร่ (ร้อยละ 0.01 ของเนื้อที่จังหวัด)

                                      -  เขตปลูกยางพารา เนื้อที่ 119,450 ไร่ (ร้อยละ 4.95 ของเนื้อที่จังหวัด)
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110