Page 108 - Nongbualamphu
P. 108

5-10





                             ระบบการจ าแนกการใช้ที่ดินในประเทศไทยเป็นระบบที่ปรับปรุงมาจากระบบของกรม

                  ทรัพยากรธรณีประเทศสหรัฐอเมริกา (USGS) โดยได้แบ่งการจ าแนกออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1

                  แบ่งเป็นพื้นที่ชุมชนและสร้างสิ่งปลูกสร้าง (Urban: U) พื้นที่เกษตรกรรม (Agriculture: A) พื้นที่ป่าไม้
                  (Forest: F) พื้นที่น้ าและพื้นที่เบ็ดเตล็ด (Miscellaneous: M) ระดับที่ 2 จ าแนกรายละเอียดพื้นที่แต่ละ

                  ประเภทในระดับที่ 1 ตัวเอย่างเช่น พื้นที่ชุมชนและสิ่งก่อนสร้าง แบ่งย่อยเป็นตัวเมืองและย่านการค้า

                  สถานที่ราชการ และสถานีคมนาคม และระดับที่ 3 จ าแนกรายละอียดพื้นที่แต่ละประเภทในระดับที่ 2
                             จากหลักการข้างต้น เมื่อน ามาประยุกต์ใช้ประกอบพิจารณาการก าหนดเขตการใช้ที่ดิน

                  จังหวัดหนองบัวล าภู ซึ่งมีเนื้อที่ 114,092 ไร่ (ร้อยละ 4.73 ของเนื้อที่จังหวัด) สามารถแบ่งเขตย่อยได้
                  ดังนี้

                             1) เขตชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (สัญลักษณ์แผนที่ 31)

                               เขตพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 114,092 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.73
                  ของเนื้อที่จังหวัด ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินเขตนี้แบ่งออกเป็น 4 เขตย่อย ได้แก่ เขตเพื่อการอยู่อาศัย

                  เขตเพื่อการท างานและประกอบอาชีพ เขตเพื่อการอนุรักษ์และพักผ่อนหย่อนใจ และเขตเพื่อบริการสาธารณะ
                  การใช้ที่ดินในเขตชุมชนเมืองมักเป็นที่ดินประเภทเพื่อการอยู่อาศัยมากที่สุด มีการกระจายตัวอยู่ทั่วไป

                  บริเวณใจกลางเมืองมักเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก บริเวณถัดออกมาจากใจกลางเมืองไปถึงชานเมือง

                  มักเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อยโดยพิจารณาจากความหนาแน่นและระดับรายได้
                  ของประชากรในเมือง เขตใจกลางเมืองมักเป็นที่อยู่อาศัยที่มีสภาพแออัด เสื่อมโทรม เป็นที่อยู่ของผู้มี

                  รายได้น้อย ลักษณะอาคารเป็นอาคารพาณิชย์ บ้านแถว ตึกแถว บริเวณถัดออกมาจากใจกลางเมืองถึง

                  ชานเมืองเป็นที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นเบาบางมากกว่าโดยมากเป็นบ้านเดี่ยวมักเป็นเขตที่อยู่อาศัย
                  ของผู้มีรายได้ปานกลางและผู้มีรายได้สูงเนื่องจากต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า และสามารถเดินทางเข้า

                  มาท างานในเขตใจกลางเมืองได้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่ง
                  สาธารณะ ไฟฟ้า และน้ าประปา เพื่อรองรับการขยายเมืองและจ านวนประชากร จึงมีความส าคัญ

                             2) ระบบโครงข่ายคมนาคม (สัญลักษณ์แผนที่ 32)

                               เป็นเขตพื้นที่เพื่อการพัฒนาระบบโครงข่ายถนนและการคมนาคมที่สะดวก ปลอดภัย
                  และได้มาตรฐาน อ านวยความสะดวกและรวดเร็วทั้งในด้านการคมนาคมและการสื่อสาร สามารถเชื่อมโยง

                  ระหว่างเขตการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ ครอบคลุมเนื้อที่ 8,519 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.35 ของเนื้อที่
                  จังหวัด เพื่อรองรับการพัฒนาจังหวัดหนองบัวล าภูอย่างเพียงพอส าหรับความต้องการในอนาคต ส่งเสริม

                  ให้การเติบโตของชุมชนและเมืองย่อยต่าง ๆ เป็นไปอย่างเป็นระบบ

                        5.1.4 เขตอุตสาหกรรม
                            การใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมจะเชื่อมโยงกับเขตเกษตรกรรม เขตชุมชนที่อยู่อาศัย แรงงาน

                  การค้า และพาณิชย์ จึงควรจะต้องเฝ้าระวังด้านมลพิษจากอุสาหกรรม ทั้งด้านน้ า อากาศ และวัสดุเหลือทิ้ง
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113