Page 103 - Nongbualamphu
P. 103

5-5





                  ภายใต้ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560–2579) นอกจากนี้ กรมพัฒนาที่ดิน

                  ก าหนดเป้าหมายพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินให้เกิดความ

                  สมดุลและยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 15 ล้านไร่ ภายในปี 2570 ภายใต้แผนปฏิบัติราชการกรมพัฒนาที่ดิน
                  ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566–2570)

                            หลักเกณฑ์และเป้าหมายพื้นที่เกษตรกรรมข้างต้น เป็นองค์ประกอบการพิจารณาก าหนด

                  เขตเกษตรกรรม ภายใต้แผนการใช้ที่ดินจังหวัดหนองบัวล าภู ดังนี้
                            1) เขตพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดี

                              เขตเกษตรกรรมชั้นดี เป็นเขตเกษตรกรรมที่มีระบบชลประทานและมีศักยภาพการผลิต
                  ระดับปานกลาง (S2) และระดับสูง (S1) เขตนี้มีความส าคัญในการผลิตพืชเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่

                  ข้าว พืชไร่ ไม้ดอก ไม้ผล และไม้ยืนต้นอื่น ๆ มีเนื้อที่รวม 4,109 ไร่ หรือร้อยละ 0.17 ของเนื้อที่จังหวัด เป็น

                  เขตที่ก าหนดให้การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นการเฉพาะเพื่อด าเนินกิจกรรมทางการเกษตร 4 ประเภท
                  หลัก คือ เขตท านา เขตปลูกพืชไร่ เขตปลูกไม้ผล/พืชผัก และเขตปลูกไม้ยืนต้น ป้องกันการเปลี่ยนแปลงการ

                  ใช้ที่ดินที่จะมีผลเปลี่ยนโครงสร้างดินและสภาพการใช้ที่ดินจากเพื่อการเกษตรไปอย่างถาวร เช่น เพื่อสร้างที่
                  อยู่อาศัยเป็นแหล่งชุมชน หรือที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น รายละเอียดดังนี้

                                1.1)  เขตท านา (สัญลักษณ์แผนที่ 211)

                                      เขตท านา เนื้อที่ 1,468 ไร่ (ร้อยละ 0.06 ของเนื้อที่จังหวัด) เขตนี้มีศักยภาพ
                  การผลิตทั้งระดับสูง (S1) และระดับปานกลาง (S2) เป็นเขตเกษตรที่มีระบบชลประทาน โดยพบข้อจ ากัดการ

                  ใช้ประโยชน์ที่ดินบางประการ ได้แก่ ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร

                  ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร และสภาวะการหยั่งลึกของรากพืช ซึ่งสามารถปรับปรุงแก้ไขได้
                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

                  ได้แก่ ปุ๋ยคอก เศษพืช หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด เพื่อให้อินทรียวัตถุเป็นตัวดูดน้ าและธาตุอาหาร รวมทั้งช่วย
                  ให้การยึดเกาะของดินดีขึ้น หากมีการใช้ปุ๋ยเคมีควรเลือกใช้ปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม โดยเลือกชนิดของแม่ปุ๋ย

                  หรือใช้ปุ๋ยนาที่จ าหน่ายทั่วไปในอัตราที่เหมาะสม โดยวิธีใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของข้าวที่ปลูกด้วย

                                1.2)  เขตปลูกพืชไร่ (สัญลักษณ์แผนที่ 212)
                                      เขตปลูกพืชไร่ เนื้อที่ 1,708 ไร่ (ร้อยละ 0.07 ของเนื้อที่จังหวัด) เขตนี้มีศักยภาพ

                  การผลิตทั้งระดับสูง (S1) และระดับปานกลาง (S2) พบข้อจ ากัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ความเสียหาย
                  จากการกัดกร่อน ศักยภาพการใช้เครื่องจักร สภาวะการหยั่งลึกของราก สารพิษ ความชุ่มชื้นที่เป็น

                  ประโยชน์ต่อพืช ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร และ

                  ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร ซึ่งสามารถปรับปรุงแก้ไขได้
                                      รูปแบบการพัฒนาและแนวทางการจัดการ การปลูกพืชคลุมดินเพื่อช่วยให้ดิน

                  มีสิ่งรองรับการปะทะจากเม็ดฝน การพัดพาของน้ าฝนและกระแสลม ซึ่งจะช่วยลดความเร็วและการ
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108