Page 110 - Nongbualamphu
P. 110

5-12





                  สนามกีฬา สวนป่า แนวที่โล่งสีเขียวริมน้ า ล าคลอง ริ้วแนวทางเดินสีเขียวริมถนน เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่ม

                  ความเป็นธรรมชาติและอากาศบริสุทธิ์สู่เขตชุมชนและที่อยู่อาศัยของเมือง รักษาสภาพแวดล้อมให้เป็น

                  ระเบียบสวยงาม เสริมสร้างบรรยากาศร่มรื่นให้ชุมชนเมือง สอดคล้องกับเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
                  เมืองร้อยละ 15 ของประเทศ ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560–2579)


                  5.2  แนวทางการขับเคลื่อนแผนการใช้ที่ดินสู่การปฏิบัติ

                        แผนการใช้ที่ดินจังหวัดหนองบัวล าภู เป็นเครื่องมือการด าเนินงานเพื่อประกอบการตัดสินใจด้าน

                  การบริหารจัดการทรัพยากรดินและที่ดินอย่างยั่งยืน จัดท าขึ้นโดยมีหลักการส าคัญ คือ การบูรณาการ

                  ข้อมูลเชิงกายภาพดิน ที่สอดคล้องและรองรับกับบริบทด้านสังคมและเศรษฐกิจของจังหวัดหนองบัวล าภู
                  ภายใต้กรอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง การแปลงแผนและน าแผนการใช้ที่ดิน

                  จังหวัดหนองบัวล าภู ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์
                  ที่เป็นรูปธรรม มีปัจจัยความส าเร็จและกระบวนการขับเคลื่อน ดังนี้

                        5.2.1  การมีส่วนร่วมและการประสานการท างานที่มีความเชื่อมโยงอย่างมีบูรณาการ โดยภาคส่วน

                  ที่เกี่ยวข้อง (Public Participation) ประกอบด้วยภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์การเอกชน
                  และชุมชนเกษตรกรระดับพื้นที่ โดยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและการปรึกษาหารือในทุกภาคส่วน

                  โดยเฉพาะเกษตรกร ให้มีขึ้นในทุกขั้นตอนของการจัดท าแผนการใช้ที่ดิน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

                  เกี่ยวกับรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของแผน ความส าคัญของการขับเคลื่อนแผน และความร่วมมือ
                  ด าเนินการตามแผน ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้ง มุ่งเน้นผลักดันแผนไปสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน

                  กระบวนการมีส่วนร่วมจึงเป็นกลไกสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสามารถพัฒนาเป็น
                  เครือข่ายพันธมิตรความร่วมมือขับเคลื่อนแผนการใช้ที่ดิน ตามหลักการ Public–Private–Partnership

                  (PPP) ต่อไป

                        5.2.2 การบูรณาการแผนการใช้ที่ดินจังหวัดหนองบัวล าภู เข้ากับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
                  จังหวัดหนองบัวล าภู และแผนด าเนินงานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งขับเคลื่อนโดยหน่วยงานและองค์กรระดับ

                  พื้นที่อื่นๆ ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งถือเป็นการบูรณาการประสานการแปลง
                  แผนการใช้ที่ดินให้เป็นแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการด าเนินงานในภาพรวมของจังหวัดหนองบัวล าภู

                  (Action Plan)

                        5.2.3 การผลักดันแผนการใช้ที่ดินจังหวัดหนองบัวล าภู เข้าสู่ระบบงบประมาณเชิงบูรณาการ
                  ด้านการจัดการทรัพยากรดินและที่ดิน ส าหรับทุกหน่วยงาน โดยการจัดประชุมหารือกับหน่วยงานส่วนกลาง

                  ได้แก่ ส านักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และหน่วยงาน

                  ที่เกี่ยวข้อง เพื่อก าหนดแนวทางวิธีการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนแผนการใช้ที่ดิน
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115