Page 125 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 125

4-7


               ลักษณะดิน เปนดินเหนียว ดินรวน ดินรวนเหนียว ดินรวนเหนียวปนทรายแปง ดินทรายแปง ดินลึกมาก

               การระบายน้ําคอนขางเลวถึงเลว สภาพพื้นที่ราบเรียบ ความลาดชัน 0 - 2 เปอรเซ็นต ความอุดมสมบูรณของ
               ดินต่ําถึงปานกลาง
                                       การจัดการ

                                       (1.1.1.1)  ใชเทคโนโลยีลดตนทุนการผลิตและลดผลกระทบสิ่งแวดลอม
               โดยการปรับปรุงบํารุงดิน เพื่อฟนฟูความอุดมสมบูรณของดิน ใหมีธาตุอาหารอยางเพียงพอกับขาว

               เพิ่มอินทรียวัตถุใหกับดินอยางตอเนื่อง ปองกันและหลีกเลี่ยงการกอมวลพิษใหกับสิ่งแวดลอม
               โดยการลดใชสารเคมี ดังนี้

                                                 สงเสริมการใชปุยอยางมีประสิทธิภาพ โดยผสมปุยใชเอง ใสปุย
               ใหถูกตองกับชวงเวลาการเจริญเติบโตของขาว โดยวิเคราะหปริมาณธาตุอาหารในดิน คาความเปนกรดเปนดาง

               ของดิน ซึ่งเปนสิ่งแรกที่สําคัญอยางยิ่ง กอนการใสปุยตามชวงเวลาการเจริญเติบโต ทําใหลดตนทุนราคาปุยได
               มากขึ้น
                                                 สงเสริมการใชสารอินทรียรวมกับปุยเคมี และสารเคมีที่มี  ราคาแพง

               โดยใชผลิตภัณฑจุลินทรียของกรมพัฒนาที่ดิน เชน ผลิตปุยหมักใชเองจากวัสดุที่มีในทองถิ่น เชน ทะลายปาลม
               น้ํามันเปลา เศษวัสดุจากการหีบปาลมน้ํามัน (ขี้เคก) ดวยสารเรงซูปเปอร พด.1 ปุยอินทรียคุณภาพสูง

               สูตรกรมพัฒนาที่ดิน ปุยชีวภาพ พด. 12 รวมกับปุยเคมี การใชปุยหมักในการปรับโครงสรางดิน ชวยให
               การดูดซับธาตุอาหารหลักหรือปุยที่ใสลงไป มีประสิทธิภาพมากขึ้น เปนการลดตนทุนราคาปุยไดมากขึ้น
               อีกวิธีหนึ่ง ปลูกพืชปุยสดตระกูลถั่วบํารุงดิน เชน โสนอัฟริกัน ถั่วพุม ถั่วพรา หรือปอเทือง

                                       (1.1.1.2)  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
                                                 สงเสริมการผลิตขาวตามมาตรฐาน GAP เพื่อเพิ่มผลผลิตตอไร

                                                 ประยุกตใชหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหมตาม
               แนวพระราชดําริ โดยปลูกพืชหลากหลายชนิดหลังการเก็บเกี่ยวขาว ตามที่ตลาดตองการ เปนการใชที่ดิน

               อยางมีประสิทธิภาพ เชน ทําเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรียแบบมีสวนรวม (PGS) การปลูกพืชผักอินทรีย
               สมุนไพร ใหไดมาตรฐาน GAP  ใหมีพืชหมุนเวียนในการเก็บผลผลิตเพื่อจําหนาย มีรายไดเสริมและหมุนเวียน

               ตลอดป เพื่อลดความเสี่ยงของปริมาณผลผลิต ราคาผลผลิต และการตลาด นอกจากนี้ จะมีผลในดานการสราง
               ความสมดุลทางธรรมชาติ เมื่อมีความหลากหลายของชนิดพืช จะมีความหลากหลายของแมลงศัตรู
               ตามธรรมชาติที่ควบคุมแมลงศัตรูพืช ใหอยูในระดับที่ไมเกิดการระบาดได เปนการลดตนทุนการใชสารเคมี

               ในการปองกันกําจัดแมลงศัตรูพืช
                                                 จัดอบรมใหชาวนาสามารถทําปุยอินทรียใชเอง การใช ปุยสั่งตัด

               หรือการผสมปุยตามคาวิเคราะหดิน
                                                 สนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวนารายยอยเพื่อประกอบอาชีพเสริม

                                                 ในอนาคต สนับสนุนการทํา GI ขาวหอมไชยา
                                        (1.1.1.3)  การขยายตลาด

                                                 ชาวนาตองเปนนักการเกษตรมืออาชีพ นักการตลาด พัฒนา
               ขีดความสามารถในการจัดระบบการผลิตใหสอดคลองกับศักยภาพพื้นที่ และความตองการของตลาด
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130