Page 120 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 120

4-2


                                      (1.1.5)  จัดทําแนวเขตที่ดินปาอนุรักษใหชัดเจนและยั่งยืน บนพื้นฐาน

               การมีสวนรวมของชุมชน ทําใหเปนที่ยอมรับของผูมีสวนไดสวนเสีย ใชเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปรับปรุง จําแนก
               แนวเขตที่ดินปาไม ปองกันไมใหราษฎรเกิดความสับสน เจาหนาที่มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน
                                      (1.1.6)  สรางจิตสํานึกและสงเสริมใหทุกภาคสวนรูจักประโยชน คุณคาของ

               ทรัพยากรปาไม ใหเกิดความหวงแหน ตองการมีสวนรวมในการปองกันรักษาพื้นที่ปาไม บูรณาการ
               ความรวมมือ และสงเสริมการมีสวนรวมทุกภาคสวน เพื่อปฏิบัติงานปองกันรักษาพื้นที่ปาไม การควบคุมไฟปา

               สนับสนุนการสรางเครือขายแนวรวมปาไมในการอนุรักษทรัพยากรปาไมที่เขมแข็งทั้งภาครัฐ เอกชน
               และประชาชน

                                      (1.1.7)  สงเสริม สนับสนุนประยุกตใชภูมิปญญาทองถิ่นและวัฒนธรรม
               ความเชื่อดานการอนุรักษในการบริหารจัดการพื้นที่ปาไม

                                      (1.1.8)  สงเสริมการทองเที่ยวเชิงอนุรักษในเขตพื้นที่ปาอนุรักษ
                                      (1.1.9)  พัฒนาและสรางความเขมแข็งของระบบสารสนเทศปาไม
               เพื่อจัดทําฐานขอมูลทรัพยากรปาไมใหเกิดประสิทธิภาพ และเปนมาตรฐานเดียวกัน สามารถติดตามตรวจสอบ

               พื้นที่ปาไมไดอยางถูกตอง เปนปจจุบัน เชื่อมโยงฐานขอมูลปาไมกับทรัพยากรอื่นๆ เชน ทรัพยากรดิน ทรัพยากร
               น้ํา ธรณีวิทยา ขอมูลประชากร ขอมูลเศรษฐกิจและสังคม โดยบูรณาการความรวมมือกับหนวยงานอื่น

               ที่เกี่ยวของ
                               (1.2)   เขตฟนฟูสภาพปา 1 เนื้อที่ 26,718  ไร หรือรอยละ 0.33 ของเนื้อที่จังหวัด
               สุราษฎรธานี พื้นที่ในเขตนี้มีลักษณะเชนเดียวกับเขตคุมครองสภาพปาในอดีต แตสภาพปาในปจจุบัน

               เปนปารอสภาพฟนฟู ประกอบดวยปาไมผลัดใบรอสภาพฟนฟู ปาชายเลนรอสภาพฟนฟู ปาพรุ
               รอสภาพฟนฟู ถาไมมีการรบกวนพื้นที่ สภาพปาสามารถฟนฟูตัวขึ้นเปนปาสมบูรณไดอีกครั้งตามธรรมชาติ

               การปลอยใหปาไมเกิดความเสื่อมโทรม นับเปนสาเหตุหนึ่งที่กอใหเกิดวิกฤต เนื่องจากมีการชะลางพังทลายของ
               หนาดินที่เปนสวนที่มีความอุดมสมบูรณหมดไป หนาดินที่ถูกชะลางตกลงไปเปนตะกอนตามแหลงน้ําตางๆ

               กอใหเกิดการตื้นเขินของแหลงน้ําเกิดอุทกภัยในฤดูฝน เกิดความแหงแลงในฤดูแลง
                                      การจัดการ

                                      (1.2.1)  ปรับปรุงแนวทางการประเมินและจําแนกเขตปาเสื่อมโทรม
               ใหเหมาะสม เปนแนวทางเดียวกันทุกหนวยงาน
                                      (1.2.2)  จัดทําฐานขอมูลการฟนฟูปาเสื่อมโทรม กําหนดพื้นที่เปาหมาย

               เปนแผนระยะยาว เพื่อใหการการฟนฟูปาเสื่อมโทรมมีความตอเนื่อง
                                      (1.2.3)  หนวยราชการดําเนินการปลูกปาในพื้นที่ปาเสื่อมโทรม ดําเนินการ

               ตามมาตรการบํารุงรักษาอยางจริงจังและตอเนื่อง ควบคุมดูแลรักษาทรัพยากรปาไมไมใหถูกรบกวน เพื่อให
               สภาพปากลับคืนสูธรรมชาติ

                                      (1.2.4)  นอมนําแนวพระราชดําริ แนวทางการมีสวนรวม และหลักวิชาการ
               ที่เหมาะสมกับปญหา ภูมินิเวศ สอดคลองกับวัฒนธรรม ภูมิปญญาทองถิ่นของแตละพื้นที่ มาใชประโยชน

               ในการฟนฟูปาเสื่อมโทรม
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125