Page 93 - pineapple
P. 93

3-35






                  จําเป็นในการทeเกษตรกรรมยั่งยืน อาทิ การพัฒนาระบบข้อมูลเกษตรกรรมยั่งยืน การสร้างองค์ความรู้

                  การสนับสนุนเงินทุนในลักษณะสินเชื่อสีเขียวที่จูงใจการผลิตและการส่งเสริมการตลาด และ (3) ควบคุม
                  การใช้สารเคมีการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสารเคมี
                  กําจัดศัตรูพืช ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนสารเคมีการเกษตรให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง

                  ใช้สารเคมีการเกษตรอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการเพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
                  ตลอดจนกําหนดมาตรการทางการเงินการคลังในการกำกับดูแลการผลิต การนําเข้าและการใช้สารเคมี
                  การเกษตร
                            พัฒนาปัจจัยสนับสนุนในการบริหารจัดการภาคเกษตรและสนับสนุน เกษตรกรรุ่นใหม่
                  โดย (1) พัฒนาฐานข้อมูลด้านอุปสงค์และอุปทานด้านการเกษตรให้มีความถูกต้อง แม่นยํา เชื่อถือได้

                  และสามารถนํามาใช้ประโยชน์สําหรับการวางแผนด้านการเกษตรโดยใช้การตลาดนํา รวมถึงการส่งเสริม
                  ให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง และการพัฒนา
                  ระบบเตือนภัยการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ (2) สร้างบุคลากรด้านการเกษตร โดยการผลิตเกษตรกร

                  รุ่นใหม่ หรือดําเนินนโยบายบัณฑิตคืนถิ่น การจัดทําหลักสูตรการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้จากภาคปฏิบัติ
                  เพื่อสร้างเกษตรกรที่มีความรู้และมีความสามารถในการยกระดับการผลิต แปรรูป การตลาดและการ
                  บริหารจัดการที่สามารถปรับตัวได้ทันตามการเปลี่ยนแปลงของโลก การสนับสนุนการสร้างและการ
                  รวมกลุ่มเกษตรกรปราดเปรื่องให้เป็นผู้บริหารจัดการธุรกิจการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ําถึงการแปรรูปและ

                  การตลาด และเปิดโอกาสให้บุตรของเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำการเกษตร มีทัศนคติและความต้องการในการ
                  สานต่องานเกษตรกรรมเป็นลําดับแรก ตลอดจนการสร้างค่านิยมที่ดีและการสร้างความมั่นคงของ
                  เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยเฉพาะการดูแลสวัสดิการชาวนา ควบคู่กับการสนับสนุนการเพิ่ม
                  รายได้จากอาชีพนอกภาคเกษตร รวมถึงการสร้างองค์ความรู้และเข้าถึงเครือข่ายพัฒนาความรู้ด้าน

                  เทคโนโลยีสารสนเทศและวางระบบบริหารจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยี
                  และ (3) ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้ทันสมัย เช่น กฎหมายด้านสารเคมี กฎหมายด้าน
                  สหกรณ์ กฎหมายด้านปฏิรูปที่ดิน กฎหมายด้านอาหาร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้า
                  เกษตร เป็นต้น

                          2) ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                            ปัจจุบันสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นปัญหาและเป็นจุดอ่อนของ
                  การรักษาฐานการผลิตและให้บริการ รวมทั้งการดำรงชีพที่ยั่งยืน ฐานทรัพยากรธรรมชาติถูกนําไปใช้ใน

                  การพัฒนา จํานวนมากก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อม
                  โทรม ความหลากหลายทางชีวภาพถูกคุกคาม ทรัพยากรน้ํายังมีส่วนที่ไม่สามารถจัดสรรได้ตามความ
                  ต้องการ และมีความเสี่ยงในการขาดแคลนในอนาคต เกิดปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์
                  ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น จากการเข้าถึงและการจัดสรรการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เป็น
                  ธรรม รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและชุมชนเมือง ส่งผลกระทบ

                  ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน และต้นทุนทางเศรษฐกิจในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ
                  ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความผันผวนและรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะอุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบ
                  ต่อภาคเศรษฐกิจและห่วงโซ่การผลิตภายในประเทศ และข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการ

                  เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทวีความเข้มข้นทำให้ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมรับภาระในการลด





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98