Page 90 - pineapple
P. 90

3-32






                  ป่าไม้ และทะเล ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการ

                  ดําเนินคดีโลกร้อนกับคนจน
                           - พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย
                  การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่ชุมชน ท้องถิ่น ส่งเสริมการทําวิจัยร่วมกับต่างประเทศ

                  รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างประหยัดและช่วยลด
                  มลพิษ จัดหาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดและองค์กร
                  ปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาเครือข่ายนักวิจัยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยและภาคีอื่นๆ
                  สนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งการฟื้นฟูและการ
                  ป้องกันการชะล้างทําลายดิน ดําเนินการศึกษา สํารวจและกําหนดยุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรธรณีอย่าง

                  ยั่งยืน รวมถึงการศึกษาและอนุรักษ์ซากดึกดําบรรพ์
                        3.3.2 ยุทธศาสตร์ชาติ
                             รัฐธรรมนูณแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 กําหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็น
                  เป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทําแผนให้

                  สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยให้เป็นไป
                  ตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ และเพื่อให้ยุทธศาสตร์ชาติบรรลุเป้าหมายที่
                  กําหนดไว้จึงได้มีการจัดทําแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งสิ้น 23 แผนแม่บท เพื่อให้ประเทศไทย
                  บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลัก
                  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
                             แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการเกษตร

                             ภาคเกษตรมีบทบาทสําคัญในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและสร้างรายได้เข้าสู่
                  ประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งจ้างงานที่สําคัญ การพัฒนาภาคการเกษตรให้มีศักยภาพและขีดความสามารถ
                  ทางการแข่งขันจะเป็นปัจจัยแห่งความสําเร็จที่สําคัญที่จะช่วยให้การดําเนินการตามยุธศาสตร์ชาติด้าน
                  ต่างๆ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

                  โดยการยกระดับศักยภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และสินค้าเกษตร ด้านการสร้าง
                  โอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ํา ด้านการสร้าง
                  การเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสร้างการเติบโตที่คํานึงถึงความยั่งยืนของ
                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
                             ในช่วงปี 2550-2560 ภาคเกษตรของไทยมีอัตราการเติบโตในระดับที่น้อยกว่าร้อยละ 1
                  โดยมีสาเหตุสําคัญจากข้อจํากัดด้านการใช้และเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่ไม่เหมาะสม การประยุกต์ใช้

                  เทคโนโลยีและนวัตกรรม ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อการยกระดับ
                  ศักยภาพการผลิตและรายได้ของภาคเกษตร ซึ่งที่ผ่านมาได้มีมาตรการในการบรรเทาปัญหา แต่ส่วนใหญ่
                  เป็นแผนระยะสั้นเพื่อการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า สะท้อนให้เห็นว่าภาคเกษตรของไทยยังสามารถ
                  ได้รับการพัฒนาเพื่อยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้เทียบเท่ากับภาพการผลิต

                  อื่นๆ และเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับรายได้ของประเทศให้เป็นประเทศทที่พัฒนาแล้ว โดยในแผน
                  แม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการพัฒนาการเกษตรจะให้ความสําคัญกับการยกระดับการผลิตให้
                  เข้าสู่คุณภาพมาตรฐานความปลอดภัย การใช้ประโยชน์จากความโดดเด่นและเอกลักษณ์ของสินค้า
                  เกษตร รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพในแต่ละพื้นที่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95