Page 95 - pineapple
P. 95

3-37






                             กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงต้องกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสม

                  สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบาย
                  รัฐบาล ดังนี้
                          1) แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12

                  (พ.ศ. 2560 - 2564)
                             ทิศทางการพัฒนาการเกษตรในระยะเวลา 5 ปี ข้างหน้าของแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วง
                  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ยังคงยึดหลักคนเป็น
                  ศูนย์กลางของการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
                  เกษตรกร และผลักดันการประยุกต์ใช้ปรัชญาดังกล่าว ส่งเสริมเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งเกษตรกร

                  รายย่อยและเกษตรเชิงพาณิชย์ สามารถผลิตสินค้าเกษตรอย่างเพียงพอ มีความหลากหลายและมี
                  คุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ประชาชนสามารถเข้าถึง
                  อาหารได้อย่างทั่วถึง รวมถึงประเทศไทยยังคงครองความสามารถในการค้าสินค้าเกษตรและอาหาร

                  ในระดับต้นๆ ของโลกไว้ มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศต่อไป กระทรวง
                  เกษตรและสหกรณ์จึงมียุทธศาสตร์สําคัญของการพัฒนาการเกษตรในระยะ 5 ปีข้างหน้า ที่สอดรับกับ
                  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งครอบคลุมการดําเนินงานกําหนดเขตการใช้ที่ดิน
                  พืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน ดังนี้

                           (1) ยุทธศาสตร์พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และ
                  ความมั่นคงด้านอาหาร ประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการผลิตทางการเกษตรมีความ
                  หลากหลายทางชีวภาพ มีการใช้ภูมิปัญญาแบบผสมผสานและสอดคล้องกับภูมิสังคมแต่ละท้องถิ่น
                  สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศและส่งออก สร้างรายได้ให้กับ

                  ประเทศมาตลอด
                           (2) ยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุล และยั่งยืน
                  ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรมีความสําคัญต่อการพัฒนาภาคเกษตร เนื่องจากเป็นปัจจัย
                  การผลิตพื้นฐานในการทําการเกษตร เช่น ทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรพื้นฐานที่สร้างปัจจัยการผลิตที่จําเป็นต่อ

                  การดํารงชีวิตมากมาย และปัจจุบันทรัพยากรที่ดินเกิดปัญหาความเสื่อมโทรมทั้งจากธรรมชาติและจาก
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างและพัฒนาการใช้ทรัพยากรที่ดินอย่างมี
                  ประสิทธิภาพ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรที่ดินให้มีความเหมาะสมต่อการผลิตพืชเศรษฐกิจสับปะรด เตรียมความ

                  พร้อมในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเพื่อ
                  สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามาส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากร จึงมีการส่งเสริมและพัฒนา
                  ทรัพยากรที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเร่งรัดการฟื้นฟูและปรับปรุงคุณภาพดินที่เสื่อมโทรม และวาง
                  ระบบการใช้ที่ดินตามศักยภาพ

                        3.3.5 แผนพัฒนาทรัพยากรที่ดิน

                             จากทิศทางการพัฒนาประเทศที่มุ่งใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรเพื่อตอบสนองการ
                  เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ทําให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ขาดความสมดุลระหว่างการ
                  ใช้ประโยชน์กับการอนุรักษ์และฟื้นฟู จนส่งผลกระทบให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากร โดยเฉพาะ
                  อย่างยิ่งทรัพยากรที่ดิน ซึ่งประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมอีกประเทศหนึ่ง จึงมีการใช้





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100