Page 98 - pineapple
P. 98

3-40






                            กลยุทธ์และมาตรการตามยุทธศาสตร์สับปะรด ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้

                            1) กลยุทธ์ด้านการผลิต
                               (1) กําหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจที่เหมาะสมสําหรับการปลูกสับปะรดโรงงาน และ
                  สับปะรดบริโภคสด รวมทั้งปรับปรุงการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด
                               (2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) แก่
                  เกษตรกร รวมทั้งการเขตกรรมการจัดการดินให้แก่เกษตรกรเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มคุณภาพ

                  ผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
                               (3) วิจัยเทคโนโลยีการผลิต และพัฒนาพันธุ์สับปะรดที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ทนทานต่อ
                  โรคและแมลง คุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยแยกเป็นพันธุ์เพื่อการบริโภคสด และ

                  เผื่อการแปรรูป รวมทั้งกระจายพันธุ์สับปะรดไปสู่เกษตรกร
                               (4) สร้างกลไกและข้อกฎหมายให้เกษตรกร และโรงงานแปรรูปสับปะรดต้องร่วมมือกัน
                  วางแผนการผลิต และการรับซื้อให้สอดคล้องกับความต้องการในลักษณะของการทําสัญญาข้อตกลง
                  (Contract Farming)

                               (5) สร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรเกษตรกรที่ปลูกสับปะรด
                               (6) ประสานและอํานวยความสะดวกในการจัดหาแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องเข้าสู่
                  อุตสาหกรรมสับปะรด
                               (7) ส่งเสริมและรณรงค์ป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคเหี่ยวสับปะรด

                               (8) จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ําในไร่นาเพื่อการผลิตสับปะรด
                               (9) ส่งเสริมการผลิตสับปะรดบริโภคสดพันธุ์ MD2
                               (10) การป้องกันแก้ไขปัญหาสารไนเตรทตกค้าง
                               (11) ส่งเสริมการถ่ายทอด การเรียนรู้ด้านสับปะรดแก่เกษตรกรให้เป็นผู้ผลิตสับปะรดมือ

                  อาชีพ เช่น หลักสูตรการศึกษาแบบระบบการศึกษานอกโรงเรียน
                               (12) ส่งเสริมการเพาะปลูกสับปะรดคุณภาพและมาตรฐาน เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานแปร
                  รูปอย่างต่อเนื่อง

                            2) กลยุทธ์ด้านการแปรรูป
                               (1) ส่งเสริมการนําสับปะรดไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น

                  น้ําสับปะรดพร้อมดื่ม น้ําส้มสายชูหมักจากสับปะรด เอนไซม์โบรมิเลน สารให้ความคงตัวจากสับปะรด
                  และสับปะรดในน้ําเชื่อมบรรจุถ้วยพลาสติกพร้อมบริโภค
                               (2) ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมใหม่ เครื่องจักรที่ทันสมัยให้แก่โรงงานแปรรูป โดยให้

                  แรงจูงใจในการส่งเสริมการลงทุน เช่น สิทธิทางภาษี
                            3) กลยุทธ์ด้านการตลาด

                               (1) รณรงค์ส่งเสริมการบริโภคสับปะรด และผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ โดยแสดงคุณค่า
                  ทางโภชนาการผ่านสื่อต่างๆ
                               (2) ส่งเสริมการหาตลาดใหม่ เช่น รัสเซีย กลุ่มประเทศมุสลิม








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103