Page 97 - pineapple
P. 97

3-39






                             ยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2560-2569 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างอุตสาหกรรม

                  สับปะรด ปัจจัย และสภาพแวดล้อมที่มีความสําคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสับปะรดไทย และ
                  กําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสับปะรดไทย ผลการศึกษา พบว่าสับปะรดปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศ
                  โดยแหล่งปลูกมากที่สุด คือ ภาคตะวันตก ประมาณร้อยละ 50 ของผลผลิตทั้งหมด ซึ่งผลผลิตร้อยละ

                  80 ของผลผลิตทั้งหมด ส่งเข้าเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานแปรรูปสับปะรด และร้อยละ 20 ของผลผลิต
                  ทั้งหมด เป็นสับปะรดบริโภคสดในประเทศ และส่งออก
                             โครงสร้างอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรด พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อ
                  ส่งเป็นสับปะรดบริโภคผลสดก่อน ร้อยละ 10 ของผลผลิตทั้งหมด และผลผลิตที่เหลือนําไปขายให้แก่ผู้
                  รวบรวมสับปะรด (แผง) และสถาบันเกษตรกร เพื่อนําส่งเข้าโรงงานแปรรูปสับปะรด นอกจากนี้โรงงาน

                  แปรรูปสับปะรดยังมีการจัดหาผลผลิตที่ปอกและหั่นจากผู้รวบรวม (แผง) และผลิตในไร่ของโรงงานแปร
                  รูปสับปะรดเอง สภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมสับปะรด พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร
                  รายย่อยขาดการรวมตัวกันทําให้อํานาจการต่อรองต่ํา ปริมาณวัตุดิบสับปะรดที่ผลิตมีปริมาณมากและ

                  ผลิตได้ทุกภาคของประเทศ และคุณภาพผลผลิตในแต่ละแหล่งผลิตมีความแตกต่างกันบ้างแต่ไม่มากนัก
                  2) ผู้ประกอบการรายเดิมมีพันธมิตรทางการค้ากับประเทศคู่ค้า 3) ประเทศคู่ค้าสามารถเลือกซื้อ
                  สับปะรดกระป๋องจากประเทศคู่แข่ง และมีอํานาจต่อรองสูง 4) สับปะรดเป็นสินค้าที่ผลไม้อื่นทดแทนได้
                  แต่ไม่สมบูรณ์ และ 5) การแข่งขันในการแย่งซื้อวัตถุดิบสับปะรดระหว่างโรงงานแปรรูปสับปะรด

                             การศึกษาปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกอุตสาหกรรมสับปะรด พบว่า 1) จุดแข็ง ได้แก่
                  สภาพพื้นที่และอากาศเหมาะสมต่อการปลูกสับปะรด เกษตรกรมีความรู้ความสามารถ และมีโรงงาน
                  แปรรูปสับปะรดที่มีมาตรฐาน 2) จุดอ่อน ได้แก่ เกษตรกรรายย่อยไม่มีการรวมกลุ่ม พันธุ์สับปะรดให้
                  ผลผลิตต่อไร่ต่ํา และโรงงานแปรรูปสับปะรดส่วนใหญ่ดําเนินธุรกิจในลักษณะการรับจ้างผลิต 3) โอกาส

                  ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สับปะรดเป็นที่ยอมรับและความต้องการของตลาด และ 4) ภัยคุกคาม ได้แก่ ราคา
                  ปัจจัยการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น การปลูกสับปะรดขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และต้นทุนการผลิต
                  สับปะรดกระป๋องของไทยสูงกว่าคู่แข่ง
                             ยุทธศาสตร์สับปะรด ปี 2560-2569 กําหนดวิสัยทัศน์ว่า ผลิตสับปะรดคุณภาพ สร้าง

                  ความยั่งยืนอุตสาหกรรมสับปะรดไทย โดยมียุทธศาสตร์และแนวทางการดําเนินงาน ได้แก่
                             1) ด้านการผลิต ได้แก่ กําหนดพื้นที่ที่เหมาะสม เกษตรกรและโรงงานวางแผนการผลิต
                  และทําสัญญาข้อตกลง (Contract Farming)

                             2) ด้านการแปรรูป ได้แก่ โรงงานแปรรูปสับปะรดต้องรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่ได้
                  GAP โรงงานแปรรูปสับปะรด เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต
                             3) ด้านการตลาด ได้แก่ ซื้อขายผลิตภัณฑ์สับปะรดในตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Future
                  Market) หาตลาดใหม่เพิ่ม
                             4) การบริหารจัดการ ได้แก่ การพัฒนาฐานข้อมูลสับปะรด นอกจากนี้ กําหนดให้มี

                  คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด เพื่อให้มีการขับเคลื่อน
                  ยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102