Page 96 - pineapple
P. 96

3-38






                  ประโยชน์จากทรัพยากรที่ดินเพื่อทําการเกษตรมาตลอดอย่างต่อเนื่อง จนก่อให้เกิดปัญหาการใช้ที่ดิน

                  และปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเกษตรกร ชุมชน และ
                  ประเทศชาติ กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งมีอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
                          -  ศึกษา สํารวจ จําแนก วิเคราะห์ และวิจัยและที่ดิน ทําสํามะโนที่ดิน ติดตามสถานการณ์

                  สภาพการใช้ที่ดิน เพื่อกําหนดนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน และเพื่อการพัฒนาที่ดิน
                          -  ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และให้คําแนะนําเกี่ยวกับดิน น้ํา พืช ปุ๋ย และอื่นๆ ที่
                  เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน
                          -  ถ่ายทอดผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดินแก่ส่วนราชการ
                  ที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร

                          -  ปฏิบัติการอื่นใดที่กฎหมายกําหนด ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน หรือที่
                  กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
                             ภารกิจหลักในการพัฒนาทรัพยากรที่ดิน คือ

                          -  สํารวจดิน วิเคราะห์และวิจัยดิน และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับดิน
                          -  ติดตามสถานการณ์การใช้ที่ดิน
                          -  ทําการวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ดิน ทั้งในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ํา การปรับปรุงบํารุงดิน
                  การแก้ไขดินที่มีปัญหาในการทําการเกษตร

                          -  ให้บริการวิเคราะห์ดินและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับดิน บริการวัสดุปรับปรุงบํารุงดิน พันธุ์พืชเพื่อ
                  การอนุรักษ์ดินและน้ํา
                          -  จัดทําและให้การบริการข้อมูลระบบสารสนเทศด้านการพัฒนาที่ดิน แก่เกษตรกร ส่วน
                  ราชการและบุคคลที่สนใจ

                          -  ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร เจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนราชการและ
                  ประชาชนทั่วไป

                        3.3.6 ยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2560-2569
                             สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้ประเทศประมาณปีละ 23,000-25,000 ล้านบาท

                  โดยมีผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สําคัญ ได้แก่ สับปะรดกระป๋องและน้ําสับปะรด คิดเป็นร้อยละ 45 ของมูลค่า
                  การส่งออก ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป โดยไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสับปะรดกระป๋องเป็นอันดับ 1 ของ
                  โลก มีส่วนแบ่งการตลาด ประมาณร้อยละ 50 ซึ่งตลาดส่งออกสําคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา
                  ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ อุตสาหกรรมสับปะรดยังมีความสําคัญต่อเศรษฐกิจ ทั้งใน
                  ระดับมหภาค และระดับไร่นา กล่าวคือ ในระดับมหภาค เป็นอุตสาหกรรมเกษตรที่สร้างมูลค่าเพิ่มจาก

                  การใช้วัตถุดิบภายในประเทศ รวมทั้งเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานเป็นจํานวนมาก
                  เนื่องจากกระบวนการผลิตหลายขั้นตอนไม่สามารถใช้เครื่องจักรแทนแรงงานได้ สําหรับในระดับไร่นา
                  นั้น อุตสาหกรรมสับปะรดมีส่วนสําคัญในการเสริมสร้างรายได้ให้ภาคการเกษตร โดยเป็นอุตสาหกรรมที่

                  เชื่อมโยงภาคการผลิตด้านการเกษตรกับภาคอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เป็นแหล่งรองรับผลผลิต
                  ของเกษตรกรปีละ 1.80-2.00 ล้านต้น ของผลผลิตทั้งหมด (ผลผลิตที่เหลือประมาณร้อยละ 20 ใช้ในรูป
                  สับปะรดบริโภคสดภายในประเทศ และส่งออก) ดังนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมสับปะรดอย่างครบวงจร
                  จึงทําให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101