Page 91 - pineapple
P. 91

3-33






                  สมัยใหม่ในการผลิตและการจัดการฟาร์ม แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 6 แผนย่อย

                  ได้แก่ เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรอัจฉริยะ และการ
                  พัฒนาระบบนิเวศการเกษตร

                        3.3.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
                             แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564 ได้น้อมนําหลัก
                  “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานําทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนา

                  เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9-11 โดยทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
                  สํานักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ได้จัดทําบนพื้นฐานของกรอบ
                  ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการ
                  พัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทย

                  ไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้นได้ให้ความสําคัญกับการมีส่วน
                  ร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันกําหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้ง
                  ร่วมจัดทํารายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
                          1) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

                            การขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะเน้นการ
                  พัฒนาและ ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นก้าวหน้าที่เข้มข้นมากขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจ
                  ดิจิทัล การพัฒนา และยกระดับคุณภาพของกำลังคน และความคิดสร้างสรรค์ในการขยายฐานเศรษฐกิจ
                  และฐานรายได้ใหม่ควบคู่ กับการเพิ่มผลิตภาพของฐานการผลิตและบริการเดิมรวมทั้งการต่อยอดการ

                  ผลิตและบริการเดิมโดยใช้ดิจิทัล และเทคโนโลยีอัจฉริยะ นอกจากนั้นจะให้ความสําคัญกับการใช้
                  ศักยภาพของทรัพยากรชีวภาพ การส่งเสริม การเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่มูลค่าอย่างมีประสิทธิภาพ การ
                  พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนว ระเบียงเศรษฐกิจ การผสมผสานภาคบริการเข้ากับ
                  การค้าและการเตรียมความพร้อมของภาคบริการ ให้สามารถรองรับการแข่งขันที่เสรีขึ้น การเสริมสร้าง

                  ศักยภาพการแข่งขันให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการสร้างสังคมผู้ประกอบการที่
                  ผลิตได้ขายเป็น โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและ
                  มาตรฐานสากลของสินค้าและบริการที่สูงขึ้นรวมถึงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งพัฒนาระบบและ

                  กลไก ตลอดจนการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อกระจายโอกาสเศรษฐกิจให้คนในชุมชนและท้องถิ่นและแบ่งปัน
                  ผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ
                            การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจรายสาขา เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการ
                  แข่งขัน ของภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ และการค้าการลงทุน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ
                  ชีวภาพให้เป็นฐานรายได้ใหม่ที่สําคัญ พัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงและมีการปรับตัวให้

                  พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อให้ฐานการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกรมี
                  ความมั่นคง เพื่อเร่งผลักดันให้สินค้าเกษตรและอาหารของไทยมีความโดดเด่นในด้านคุณภาพ มาตรฐาน
                  และความปลอดภัยในตลาดโลก

                            เสริมสร้างขีดความสามารถการผลิตในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเกษตร โดย (1) เสริมสร้าง
                  ศักยภาพของสถาบันเกษตรกรและการรวมกลุ่มให้เป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่มูลค่า
                  ของอุตสาหกรรมเกษตร โดยอาศัยแนวคิดและกระบวนการสหกรณ์เป็นพื้นฐานในการเสริมสร้าง ความ





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96