Page 87 - pineapple
P. 87

3-29





                  3.3  นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน

                        3.3.1 นโยบายรัฐบาล
                             ในด้านเกษตรกรรม ดําเนินการใน 2 เรื่องใหญ่ คือ การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้า

                  เกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแบ่งเขตเพื่อปลูกพืชผลแต่ละชนิด และ
                  การสนับสนุนให้สหกรณ์ของกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มบทบาทในฐานะผู้ซื้อพืชผลจนถึงการ
                  แปรรูปและการส่งออกได้ แล้วแต่กรณี เพื่อให้สหกรณ์เป็นผู้ค้าขายสินค้าเกษตรรายใหญ่อีกรายหนึ่ง ซึ่ง
                  จะช่วยคานอํานาจของกลุ่มพ่อค้าเอกชนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีความสมดุลมากขึ้น
                          1) นโยบายเศรษฐกิจภาคการเกษตร

                            โครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังคงต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าและการลงทุนจาก
                  ต่างประเทศอย่างมาก จึงมีความเสี่ยงสูงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งยังไม่ได้รับ
                  ผลตอบแทนอย่างเต็มที่จากการผลิตและการใช้ทรัพยากรของประเทศ การส่งออกสินค้าเกษตรยังคงเป็น

                  การส่งออกวัตถุดิบที่ราคาผันผวนขึ้นกับตลาดโลก ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ
                  ที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สําคัญของการสร้างการ
                  เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน จึงมีนโยบายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                           1.1) นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร

                               - ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสาร
                  กับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
                               - เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยี
                  การผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับสถานการณ์การ

                  เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่เกษตรกรเพื่อให้มีการใช้พันธุ์ดี
                  ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด ทั้งนี้เพื่อ
                  ลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต
                               - เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการ

                  เพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน โดยมีการวางแผนการผลิตและการ
                  จําหน่ายล่วงหน้าที่แม่นยํา และประสานโครงสร้างพื้นที่ฐานของทางราชการและเอกชนให้เกิดประโยชน์
                  สูงสุด สร้างกระบวนการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน
                               - จัดทําระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือน

                  ครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสําหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อ
                  ความสะดวกในการสนับสนุนช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกร สร้างหลักประกันความมั่นคงในการ
                  ประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร จัดให้มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนการทํางานของภาครัฐ
                  ตลอดจนจัดให้มีรายการโทรทัศน์เพื่อการเกษตรเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตและการตลาดแก่

                  เกษตรกรทั่วไป
                               - เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้าง
                  เกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ร่วมมือสนับสนุนสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทาง

                  วิชาการเกษตรทุกสาขา และดําเนินการให้บุคลากรของสถาบันการศึกษาได้ทําหน้าที่สนับสนุนการ
                  ส่งเสริมการเกษตร พัฒนารูปแบบการจัดการผลิต การบรรจุผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการ





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92