Page 88 - pineapple
P. 88

3-30






                  ตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิต เร่งรัดการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เช่น ยางพารา และพืชพลังงาน

                  (ถั่วเหลืองฤดูแล้ง อ้อย มันสําปะหลัง) เพื่อรองรับวิกฤตพลังงานโลก ส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้
                  ผลตอบแทนสูง โดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง
                               - พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่ม เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

                  โดยการส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่มีกําไรสูง มีการแปรรูปอย่างครบวงจรเพื่อแสวงหามูลค่าเพิ่มสูงสุด
                  พัฒนาระบบตลาดทุกขั้นตอน ยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ สร้าง
                  กลุ่มธุรกิจรายสินค้าระดับภูมิภาค เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และสร้างโอกาสชี้นําในเรื่องราคา
                  โดยเฉพาะตลาดข้าว เร่งรัดการเจราจาข้อตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารใน
                  ตลาดโลก ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นครัวโลกทั้งในแง่สินค้าเกษตร อาหารไทย และสนับสนุนการลงทุน

                  ภาคเกษตรในต่างประเทศ
                               - ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดําเนินการฟื้นฟู
                  สภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหาร

                  โลก สร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ และเกษตรทางเลือก
                  ปรับโครงสร้าง และจัดหาที่ทํากินให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้ และดําเนินการฟื้นฟูคุณภาพดินให้คงความ
                  อุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน ตลอดจนการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                           1.2) นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจการตลาด การค้า และการลงทุน

                               - ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมเพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน
                  ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไข
                  ปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่
                  ผู้ประกอบการในด้านการคุ้มครองและป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์

                  ไทยในต่างประเทศ
                               - สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนา
                  กฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรมและ
                  บริการ ปรับปรุงมาตรการบริหาร การนําเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่

                  ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย ปรับเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้มี
                  คุณภาพที่สามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืน กระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง และมี
                  ภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันและอนาคต

                               - สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพทั้งในการ
                  ลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า การทําสัญญาสินค้าเกษตรตามข้อตกลง การเปิดสาขา การหาตัวแทนและหุ้นส่วน
                  ในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทย
                  ของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก
                               - ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่

                  ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ โดยเน้นกิจการที่ใช้ความคิด
                  สร้างสรรค์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม
                               - ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่เพื่อลดการ

                  พึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93