Page 92 - pineapple
P. 92

3-34






                  เข้มแข็งให้ครอบคลุมเกษตรกรและประชาชนในทุกพื้นที่และขยายผลเชื่อมโยงเครือข่ายระบบการผลิต

                  การตลาดและการเงิน กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และคลัสเตอร์ที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม
                  ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติ ร่วมกับการขับเคลื่อนและสนับสนุนการด าเนินธุรกิจการเกษตรแบบ
                  ประชารัฐ การลงทุนแบบความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน และการท าเกษตรพันธสัญญาที่มีความ

                  รับผิดชอบต่อสังคม และมีความเป็นธรรม (2) ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืช ปศุสัตว์ และการทำประมงให้
                  สอดคล้องกับศักยภาพ พื้นที่และความต้องการของตลาด (Zoning) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน
                  การผลิต โดยเร่งส่งเสริม การทำเกษตรแปลงใหญ่และเกษตรกรรมแม่นยำสูงในพื้นที่ที่เหมาะสม การ
                  ร่วมจัดหาปัจจัยการผลิตและเครื่องจักรกลการเกษตร การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการ
                  ปรับปรุงการผลิต และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นด้านการเกษตร อาทิระบบโลจิสติกส์ และ

                  ระบบภูมิสารสนเทศในการวางแผนการ ผลิตตลอดห่วงโซ่ ตลอดจนส่งเสริมการทําเกษตรแบบประณีตที่
                  ต้องใช้องค์ความรู้ควบคู่กับการวางแผนและการจัดการอย่างเป็นระบบมีความเอาใจใส่ และใช้พื้นที่ให้
                  เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด รวมทั้งคำนึงถึงระบบนิเวศ การพัฒนาสินค้าเกษตรที่ได้จดทะเบียนสิ่ง

                  บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ ที่ไม่เหมาะสมไปสู่การทำเกษตรทางเลือกอื่นๆ
                  รวมถึงการส่งเสริมระบบและการเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมงอย่างยั่งยืน (3) วิจัยพัฒนาและใช้
                  เทคโนโลยีและเครื่องจักรสมัยใหม่ในกระบวนการผลิต ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยวและใน
                  กระบวนการแปรรูปเพื่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต ตลอดห่วงโซ่การผลิต (4)

                  สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร และการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรชีวภาพเพื่อต่อยอด
                  องค์ความรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง โดยนำผลการวิจัยและพัฒนามาใช้ ประโยชน์ในการสร้าง
                  มูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ที่หลากหลายและสอดคล้องกับความ ต้องการของ
                  ตลาดบนพื้นฐานของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาคเกษตรกร ภาคเอกชน และภาครัฐ (5)

                  บริหารจัดการผลผลิตอย่างเป็นระบบครบวงจร โดยมีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับ
                  ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเพื่อการแปรรูปสร้างมูลค่าและความต้องการของผู้บริโภคในตลาด
                  เพื่อ สร้างสมดุลการผลิตในทุกระดับตั้งแต่ท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศ ตลอดจนมีการเชื่อมโยง
                  การผลิต ภาคเกษตรกับภาคการผลิตอื่น เช่น ภาคบริการและการท่องเที่ยวเพื่อลดการพึ่งพิงการส่งออก

                  สินค้าเกษตร และเพิ่มมูลค่าทางการเกษตร (6) พัฒนากลไกจัดการความเสี่ยงที่กระทบต่อสินค้าเกษตร
                  ได้แก่ ตลาดซื้อ ขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า การจัดตั้งกองทุนประกันภัยพืชผลทางการเกษตร รวมทั้ง
                  สร้างระบบเตือนภัย ทางการเกษตรล่วงหน้า และ (7) สร้างความร่วมมือด้านการเกษตรกับประเทศ

                  เพื่อนบ้าน ในการเป็นแหล่ง ผลิตวัตถุดิบเพื่อการแปรรูปสร้างมูลค่าและโอกาสในด้านการตลาดจากการ
                  ส่งออกทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน
                            ส่งเสริมและเร่งขยายผลแนวคิดการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
                  พอเพียง โดย (1) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการเกษตร มีส่วนร่วมคิดร่วมทำ
                  และเป็นเจ้าของในการพัฒนาการเกษตรของตนโดยภาครัฐสนับสนุนด้านปัจจัยพื้นฐานที่จําเป็นและ

                  เชื่อมโยงการดําเนินการกับศูนย์เรียนรู้ต่างๆ ในพื้นที่ (2) ส่งเสริมขยายผลและพัฒนาการผลิตในระบบ
                  เกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในรูปแบบเกษตรทฤษฏีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตร
                  ธรรมชาติ รวมถึงการทําเกษตรกรรมตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีโดยสนับสนุนบทบาท

                  เครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้านในการขับเคลื่อน และการปรับกลไกและโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรที่





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97