Page 94 - pineapple
P. 94

3-36






                  การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กระแสการแข่งขันทางการค้า ขณะที่วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก

                  หลัง ค.ศ. 2015 ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกในอีก 15 ปี ข้างหน้า (ค.ศ. 2016-
                  2030) จะส่งผลกระทบต่อแนวทางการพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้นประเด็นท้าทายที่ต้องเร่ง
                  ดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้แก่ การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและ

                  ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของ
                  ประชาชน เร่งแก้ไขปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อมเพื่อลดมลพิษที่เกิดจากการผลิต และการบริโภค พัฒนา
                  ระบบบริหารจัดการที่โปร่งใสเป็นธรรม ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นวง
                  กว้างมากขึ้น ต้องเร่งเตรียมความพร้อมในลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มขีดความสามารถในการ
                  ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติทาง

                  ธรรมชาติ
                            สนับสนุนการผลิตภาคการเกษตรไปสู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนการ
                  ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากพืชเชิงเดี่ยวไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืน อาทิ เกษตรธรรมชาติ เกษตร

                  ผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร และเกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ การใช้วัสดุ
                  อินทรีย์และการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีการเกษตร เช่น การทำเกษตรโดยลดการใช้
                  สารเคมีที่อําเภอดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี สนับสนุนงานวิจัยและจัดทำพื้นที่ต้นแบบ เพื่อสาธิตการ
                  ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดให้มีแหล่งทุนและกลไกทางการตลาด เพื่อ

                  สร้างแรงจูงใจในการปรับรูปแบบการทำการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบการรับรอง
                  มาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพสินค้า เกษตรอินทรีย์สินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่
                  ไปกับการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลอดจน
                  ศึกษาความเหมาะสมในการยกระดับมาตรฐาน สินค้าเกษตรเหล่านี้ให้เป็นมาตรการเชิงบังคับ ขยายผล

                  แนวคิดการทำเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและ
                  ผลักดันสู่กระบวนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

                        3.3.4 แผนพัฒนาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                             กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ํา

                  และพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอด
                  ทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของ
                  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีพันธกิจในการ
                          -  ส่งเสริมสถาบันเกษตรกร สนับสนุนเกษตรกรให้พึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
                  อาชีพมั่นคง

                          -  ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับความต้องการ
                  ของตลาด มีมาตรฐานต่อผู้บริโภค
                          -  วิจัย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตทางการเกษตร

                          -  พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร เน้นการใช้ทรัพยากรการเกษตรอย่างมี
                  ประสิทธิภาพ ยั่งยืน และไม่สงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                        กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99